Page 47 - แนวทางการจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จากข้อมูลแบบจำลองระดับสูงเชิงเลขด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
P. 47

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          39




                     4.5 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินและลักษณะทางกายภาพที่อาจมีผลกระทบต่อ
                         ความลาดชันของพื้นที่

                                ข้อมูลแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ซึ่งเป็นข้อมูลปัจจัยน าเข้า (Input data)
                     ในการวิเคราะห์และจ าแนกชั้นความลาดชันในครั้งนี้ เป็นข้อมูลระดับความสูงของพื้นที่ที่ได้จากข้อมูลการ

                     บันทึกภาพระหว่างปี พ.ศ.2545- 2546 ปัจจุบันสภาพพื้นบางแห่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ

                     ทางกายภาพ ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ หรือเกิดจากการกระท าของมนุษย์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความลาดชัน
                     ของพื้นที่  ดังนั้นในการจัดท าแผนที่ความลาดชันของพื้นที่ของแต่ละจังหวัด ผู้ด าเนินการต้องศึกษารวบรวม

                     ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินและลักษณะทางกายภาพของพื้นที่

                     โดยใช้ข้อมูลจากการอ่านแปลภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลขมาตราส่วน 1:4,000 ซึ่งบันทึกข้อมูลของสภาพพื้นที่
                     เมื่อปี พ.ศ.2545- 2546 ตามหลักการอ่านแปลภาพถ่ายที่กล่าวมาแล้ว เพื่อน าข้อมูลมาเปรียบเทียบกับ

                     ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 ของแต่ละจังหวัดที่มีการปรับปรุงในปีล่าสุด โดยพิจารณา
                     รูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพความลาดชันของพื้นที่เช่น การท าเหมืองแร่

                     การระเบิดหิน การก่อสร้างแหล่งน้ าขนาดกลางและขนาดใหญ่ การปรับสภาพพื้นที่เช่นการขุดหรือถมดิน
                     เพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยและสาธารณูปโภคต่างๆ ซึ่งหากพบว่าบริเวณพื้นที่ใดมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะ

                     ดังกล่าว จะก าหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายในการส ารวจข้อมูลภาพสนาม ส าหรับใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุง

                     แก้ไขหรือขีดวงรอบขอบเขตของพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันไปจากเดิมหรือสภาพความลาดชัน
                     ของพื้นที่ในแผนที่ที่จัดท าขึ้นไม่ถูกต้องตามสภาพความลาดชันของพื้นที่ในปัจจุบัน ดังภาพที่ 4-11



































                     ภาพที่ 4-11  การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อความลาดชัน

                                  ของพื้นที่โดยการซ้อนทับข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ.2559 บนภาพถ่ายออร์โธสี

                                  บันทึกภาพเมื่อปี พ.ศ. 2546
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52