Page 96 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 96

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          85




                             5.2.4 การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่เกิดจากภัยธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
                     โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง มีลักษณะโครงสร้างของดินหรือหินที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลาย เช่น

                     บริเวณพื้นที่ภูเขาสูงชันตามแนวการก่อสร้างเส้นทางคมนาคม หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงและมีการขุด-ตัก
                     หรือถมหน้าดินเพื่อปรับสภาพของพื้นที่ โดยมักจะท าให้เกิดดินหรือหินถล่มลงมาในช่วงฤดูฝนหรือฤดูน้ าหลาก

                     ในหลายพื้นที่  ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่เกิดจากภัยธรรมชาติดังกล่าวมีผลท าให้

                     ความลาดชันของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งการด าเนินงานภายใต้โครงการนี้ ไม่ได้ด าเนินการวิเคราะห์
                     และจัดท าขอบเขตพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เนื่องจาก

                     ข้อจ ากัดในการเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บริเวณพื้นที่สูงชันยากต่อการเข้าถึง ต้องใช้ระยะเวลาและ

                     งบประมาณเป็นจ านวนมากในการเข้าไปส ารวจและเก็บข้อมูลในภูมิประเทศ ส าหรับแนวทางการแก้ไขปัญหา
                     ดังกล่าวอาจใช้ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมรายละเอียดสูงและข้อมูลเชิงพื้นที่บริเวณพื้นที่ประสบภัยพิบัติ

                     ดินโคลนถล่ม แผ่นดินทรุดตัว ฯลฯจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาประกอบการพิจารณาก าหนดขอบเขตของพื้นที่
                     ที่มีการเปลี่ยนแปลงความลาดชันไปจากเดิม

                             5.2.5  พื้นที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขามีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                     จ านวน 5771.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,606,907 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 46.77 ของพื้นที่จังหวัด

                     (ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2547) และจากผลการวิเคราะห์ความลาดชันของพื้นที่ในครั้งนี้

                     จะเห็นได้ว่าจังหวัดเพชรบูรณ์มีพื้นที่ที่มีความลาดมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ เป็นจ านวน 1,590,168 ไร่
                     หรือคิดเป็นร้อยละ 20.62 ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งโดยสภาพของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง มีโครงสร้างของ

                     ดินและหินที่ง่ายต่อการชะล้างพังทลาย และเป็นพื้นที่รับน้ าที่ไหลบ่ามาจากทางตอนเหนือของจังหวัดที่เกิด

                     จากล าน้ าพุง ของอ าเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และน้ าป่าไหลหลากจากบริเวณเทือกเขาสูงด้านทิศตะวันตกและ
                     ทิศตะวันออก ซึ่งบริเวณพื้นที่ดังกล่าวมีการบุกแผ้วถางป่าเพื่อท าการเกษตรและสิ่งปลูกสร้างเพื่อธุรกิจการ

                     ท่องเที่ยวเป็นจ านวนมากและมีจ านวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นผลให้เกิดน้ าป่าไหลหลากที่มีความรุนแรงท าให้
                     เกิดการชะล้างพังทลายของดินและหิน หรือเกิดดินโคลนถล่ม กระจายตัวอยู่ทั่วไป ส่งผลมีตะกอนดินและหิน

                     ทับถมในบริเวณพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มที่ให้เกิดแม่น้ าตื่นเขิน เกิดน้ าท่วมขังในบริเวณพื้นที่ราบและที่ราบลุ่ม
                     เป็นประจ าทุกปี ซึ่งนับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาน าแผนที่

                     และชั้นข้อมูลความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ไปใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจและวางแผนการจัดการ

                     ทรัพยากรดินและที่ดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ และการป้องกันภัยพิบัติ โดยการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัย
                     ทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นเช่น พื้นที่เสี่ยงภัยดินโคลนถล่ม น้ าป่าไหลหลาก อุทกภัยน้ าท่วมขัง ในฤดูฝน และ

                     พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งในฤดูร้อน เพื่อก าหนดมาตรการหรือแนวทางการป้องกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                     สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101