Page 95 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 95

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          84




                              6) ระดับความลาดชัน G ความลาดชันของพื้นที่มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 772,287 ไร่
                     หรือคิดเป็นร้อยละ 10.01 ลักษณะพื้นที่เป็นพื้นที่สูงชัน ภูเขาสูงชัน เทือกเขา หุบเขา หน้าผา หรือยอดเขา

                     แหลม มีความสูงชันมาก พบมากบริเวณพื้นที่ภูเขาสูงและเทือกเขาสูงตอนบนถึงพื้นที่ภูเขาและเทือกเขาสูง
                     ตอนกลางตามแนวเทือกเขาสูงด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของจังหวัด โดยพื้นที่ร้อยละ 91.77

                     เป็นพื้นที่ป่าไม้ รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 8.11 ของพื้นที่ทั้งหมด

                              7) ระดับความลาดชัน D ความลาดชันของพื้นที่ 12 - 20 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 709,444 ไร่
                     หรือคิดเป็นร้อยละ 9.20 ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชันปานกลาง พบมากบริเวณพื้นที่

                     ตอนบนถึงพื้นที่ตอนกลาง ตามแนวเทือกเขาด้านทิศเหนือ ด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออกของจังหวัด

                     โดยพื้นที่ร้อยละ 49.26 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 44.63 ของพื้นที่
                     ทั้งหมด

                             5.1.2 จัดท าแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มาตราส่วน 1:50,000  จ านวน
                     30 ระวาง และมาตราส่วน 1:200,000 ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จ านวน 1 ระวาง พร้อมด้วย

                     ข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และรายงานโครงการจัดท าแผนที่แสดงความลาดชัน
                     เพื่อการพัฒนาที่ดิน จังหวัดเพชรบูรณ์ จ านวน 10 เล่ม ส าหรับแจกจ่ายให้กับหน่วยงานของกรมพัฒนาที่ดิน

                     และจัดท าเอกสารพร้อมพิมพ์ (PDF) ส าหรับเผยแพร่ให้หน่วยงานภายนอกและผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้

                     ที่เว็บไซต์ http://www.lddservice.org


                     5.2 ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะ
                             5.2.1 แผนที่และชั้นข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ที่น ามาใช้ในการวิเคราะห์และจ าแนกความลาดชัน

                     ของพื้นที่ของแต่ละจังหวัดซึ่งได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้าน

                     คุณภาพและการครอบคลุมพื้นที่โดยเฉพาะเนื้อที่ของแต่ละจังหวัด ดังนั้นควรท าการประเมินคุณภาพของ
                     ข้อมูลแผนที่ให้เป็นไปตามมาตรฐานแผนที่ที่ต้องการผลิตหรือจัดท าขึ้นและใช้เนื้อที่ที่ได้จากการค านวณด้วย

                     ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จากชั้นข้อมูลเขตการปกครอง ระดับจังหวัด ของกรมการปกครอง ที่มีการปรับปรุง
                     ในปีเดียวกันเพื่อให้ขอบเขตของพื้นที่และจ านวนเนื้อที่ของจังหวัดเท่ากันทุกชั้นข้อมูล

                             5.2.2 ข้อมูลแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) ความละเอียดจุดภาพ 5x5 เมตร เป็นข้อมูล
                     ความสูงภูมิประเทศเมื่อปีพ.ศ.2545-2546 ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ส าคัญในการวิเคราะห์และจ าแนก

                     ชั้นความลาดชันของพื้นที่โดยจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความถูกต้องของแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่

                     ดังนั้นควรมีการตรวจสอบผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศในปัจจุบัน และท าการ
                     ปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันสภาพพื้นที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพที่เกิดจาก

                     ธรรมชาติหรือเกิดจากการกระท าของมนุษย์

                             5.2.3  การจัดท าแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ในครั้งต่อไปควรพิจารณาน า
                     ข้อมูลความสูงภูมิประเทศที่มีเกณฑ์ความถูกต้องดีกว่า 0.5 เมตร เพื่อให้การวิเคราะห์และจัดท าแผนที่

                     และชั้นข้อมูลความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์มีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100