Page 94 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 94

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน






                                                             บทที่ 5

                                                             บทสรุป


                     5.1 สรุปผลการด าเนินงาน
                             5.1.1 ผลการวิเคราะห์และจ าแนกความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์จากข้อมูลแบบจ าลอง

                     ระดับสูงเชิงเลขมาตราส่วน 1: 4,000 ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ตามหลักเกณฑ์การจ าแนกความลาดชัน

                     ของพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน สามารถจ าแนกและจัดชั้นความลาดชันของพื้นที่ได้ 7 ระดับชั้นความลาดชัน
                     โดยจัดเรียงล าดับตามจ านวนเนื้อที่ของแต่ละระดับความลาดชัน ได้ดังนี้

                              1) ระดับความลาดชัน A ความลาดชันของพื้นที่ 0 - 2 เปอร์เซ็นต์ มีพื้นที่มากสุด จ านวน
                     2,241,113 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 29.06 ลักษณะของพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                     อยู่บริเวณพื้นที่ราบและที่ราบลุ่มทางตอนกลางของจังหวัดตั้งแต่ตอนบนด้านทิศเหนือลงมาทางตอนล่างของ
                     จังหวัดด้านทิศใต้ โดยพื้นที่ร้อยละ 89.55 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง

                     ร้อยละ 7.02 ของพื้นที่ทั้งหมด

                              2) ระดับความลาดชัน E ความลาดชันของพื้นที่ 20 - 35 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 1,097,006 ไร่
                     หรือคิดเป็นร้อยละ 14.22 ลักษณะของพื้นที่เป็นเนินเขา มีความลาดชัน พบมากบริเวณพื้นที่เนินเขา

                     ตอนบนและพื้นที่เนินเขาตอนกลางตามแนวเทือกเขาด้านทิศตะวันตกและทิศตะวันออก โดยพื้นที่ร้อยละ

                     66.49  เป็นพื้นที่ป่าไม้ รองลงมาเป็นพื้นที่พื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ 33.78 ของพื้นที่ทั้งหมด
                              3) ระดับความลาดชัน B  ความลาดชันของพื้นที่ 2 - 5 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 1,089,488 ไร่

                     หรือคิดเป็นร้อยละ 14.13 ลักษณะของพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชันน้อยมาก  พบมาก
                     บริเวณพื้นที่ลาดตอนบนต่อเนื่องลงมาทางพื้นที่ลาดตอนกลางและพื้นที่ลาดตอนล่างของจังหวัด โดยพื้นที่

                     ร้อยละ 81.44 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาเป็นพื้นที่พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง ร้อยละ 8.97
                     ของพื้นที่ทั้งหมด

                              4) ระดับความลาดชัน C  ความลาดชันของพื้นที่ 5 - 12 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 985,131 ไร่

                     หรือคิดเป็นร้อยละ 12.77  ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชันเล็กน้อย พบมากบริเวณ
                     ที่ลาดเชิงเขาด้านทิศเหนือและตะวันตกของจังหวัด พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดตอนกลางลงมาทางตอนล่าง

                     ตามแนวเทือกเขาและเส้นทางการไหลของน้ าที่ทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ โดยพื้นที่ร้อยละ

                     65.71 เป็นพื้นที่เกษตรกรรม รองลงมาเป็นพื้นที่ป่าไม้ ร้อยละ 22.66 ของพื้นที่ทั้งหมด
                              5) ระดับความลาดชัน F  ความลาดชันของพื้นที่ 35 - 50 เปอร์เซ็นต์ จ านวน 817,881 ไร่

                     หรือคิดเป็นร้อยละ 10.61 ลักษณะพื้นที่เป็นลักษณะพื้นที่เป็นภูเขา มีความลาดชันสูง พบมากบริเวณภูเขา
                     และเทือกเขาทางตอนเหนือเทือกเขาด้านทิศตะวันตกซึ่งทอดยาวจากทางตอนเหนือลงมาบริเวณพื้นที่

                     ตอนกลาง และเทือกเขาด้านทิศตะวันตกซึ่งทอดยาวจากทางตอนเหนือลงมาบริเวณพื้นที่ตอนกลางและ
                     พื้นที่ตอนล่างของจังหวัด โดยพื้นที่ร้อยละ 79.84 เป็นพื้นที่ป่าไม้ รองลงมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ร้อยละ

                     18.83 ของพื้นที่ทั้งหมด
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99