Page 12 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน







                                                             บทที่ 1

                                                              บทน า



                     1.1 หลักการและเหตุผล
                                ความลาดชัน (Slope  )  ของพื้นที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพที่ส าคัญส าหรับน าไปใช้ใน

                     การพิจารณาตัดสินใจวางแผนการด าเนินงานและการก าหนดนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากร
                     ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวางแผนการใช้ที่ดินทั้งในระดับต าบล อ าเภอ จังหวัดและระดับประเทศ

                     การจัดที่ดินท ากินให้แก่ราษฎรให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและสมรรถนะของที่ดิน  การวางแผนป้องกัน
                     และบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติได้แก่ อุทกภัย น้ าป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม เป็นต้นโดยหน่วยงานต่างๆ

                     ทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน มีความต้องการใช้แผนที่และข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ ตั้งแต่ในระดับ

                     ที่ดินรายแปลง จนไปถึงพื้นที่ขนาดใหญ่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัด  ส าหรับ กรมพัฒนาที่ดิน แผนที่และ
                     ข้อมูลความลาดชันของพื้นที่เป็นข้อมูลที่จ าเป็นและมีความส าคัญเป็นอย่างมากในการด าเนินงานตาม

                     ภารกิจหลักที่ส าคัญของกรมพัฒนาที่ดิน ได้แก่ด้านการพัฒนาที่ดิน การอนุรักษ์ดินและน้ า การส ารวจดิน

                     และจ าแนกดิน การจัดท าแผนที่ดิน การส ารวจออกแบบงานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า การพัฒนาแหล่งน้ า
                     การประเมินศักยภาพและความสามารถในการกักเก็บน้ าของพื้นที่ การประเมินอัตราน้ าไหลบ่าและอัตรา

                     การชะล้างพังทลายของดิน การปรับปรุงบ ารุงดิน การวางแผนการใช้ที่ดิน และการส ารวจออกแบบระบบ
                     โครงสร้างพื้นฐานด้านการเกษตรเพื่อการพัฒนาที่ดินในพื้นที่ต่างๆ  โดยในการด าเนินงานที่ผ่านมานั้น

                     ผู้ปฏิบัติงานในด้านดังกล่าวจะด าเนินการจัดท าแผนที่และข้อมูลความชันของพื้นที่เฉพาะบริเวณพื้นที่
                     ด าเนินงานตามแผนงานหรือโครงการขึ้นมาเพื่อใช้งานเอง โดยจะท าการวิเคราะห์ จ าแนกชั้นความลาดชัน

                     ตามรูปแบบ วิธีการ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขหรือข้อก าหนดทางเทคนิคฯ ของหน่วยงานหรือเฉพาะโครงการ

                     นั้นๆที่ก าหนดไว้  จึงท าให้ในปัจจุบันยังไม่มีแผนที่และข้อมูลความลาดชันของพื้นที่แต่ละจังหวัดที่จัดท าขึ้น
                     จากข้อมูลที่มีความละเอียดถูกต้องภายใต้ข้อก าหนด หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการและรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน

                     เดียวกัน ส าหรับให้ผู้ที่ต้องการใช้แผนที่และข้อมูลความลาดชันของพื้นที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

                     สามารถน าไปใช้งานร่วมกันอย่างเป็นมาตรฐานเดียวกันได้
                                 จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ด าเนินการจึงได้ด าเนินการเนินโครงการจัดท าแผนที่แสดงความลาดชัน

                     ของพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดินภายใต้แผนปฏิบัติงานประจ าปีงบประมาณ 2560 โดยพิจารณาคัดเลือก
                     จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพื้นที่น าร่องในการด าเนินงาน เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศที่มีความหลากหลาย

                     สภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน เนินเขา หุบเขา ที่ลอนลาด และที่ราบลุ่ม สามารถใช้เป็นตัวแทนของสภาพ
                     ความลาดชันของพื้นที่ได้อย่างครบถ้วนทุกชั้นความลาดชัน  ซึ่งในปัจจุบันจังหวัดเพชรบูรณ์ก าลังประสบ

                     ปัญหาด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภูเขา เนินเขา ที่มีความลาดชัน

                     ของพื้นที่มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติในขั้นรุนแรงเป็นประจ าทุกปี เนื่องจาก
                     การบุกรุกเข้าท าประโยชน์ปลูกสร้างบ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ประกอบการด้านการท่องเที่ยว บนพื้นที่

                     ภูเขาสูงชัน ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความลาดชันของพื้นที่ไปจากเดิมในหลายพื้นที่ ซึ่งจากสถานการณ์
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17