Page 153 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 153

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          ๔๘


                  4.2 ข้อเสนอแนะ
                             ปัจจุบันจังหวัดเพชรบูรณ์ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง

                  อันเกิดจากภัยพิบัติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการตั้งถิ่นฐาน การส่งเสริมเศรษฐกิจ การพัฒนาเมือง และ

                  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ส่งผลให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ บนพื้นผิวภูมิประเทศ  ซึ่งบางกิจกรรมอาจก่อให้เกิด
                  การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวภูมิประเทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลง

                  ความลาดชันของพื้นที่ ดังนี้

                             1) พื้นที่เกษตรกรรม
                                การท าเกษตรกรรมในพื้นที่ลาดชัน การปลูกพืช การท าสวน ท าไร่ และการปลูกไม้ยืนต้น

                  ซึ่งปัจจุบันมีการใช้เครื่องจักร เพื่อการไถพรวน พลิกหน้าดิน การขุดร่องน้ า การปรับหน้าดิน ตัดถนนเพื่อการเข้าถึง
                  และขนส่งล าเลียง โดยไม่มีการศึกษาโครงสร้างหรือลักษณะของดินที่เหมาะสมส าหรับการปลูกพืช ส่งผลกระทบ

                  ทางตรงต่อความลาดชันของพื้นที่ ตลอดจนผลกระทบทางอ้อมอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการไหล
                  ของน้ าผิวดิน น้ าจะไหลผ่านหน้าดินอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดการชะล้างหน้าดิน หรือมวลดินมีน้ าหนักมากขึ้น

                  ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่ม

                             2) พื้นที่เหมืองแร่
                                การท าอุตสาหกรรมประเภทเหมืองแร่ เช่น แร่ประกอบหิน ประเภท หินก่อสร้าง หินปูน

                  หินแกรนิต หินอ่อน เป็นต้น หรือ แร่โลหะ ประเภท แร่ทองค า ดีบุก สังกะสี เหล็ก เงิน ตะกั่ว เป็นต้น ซึ่งพื้นที่

                  ด าเนินการส่วนใหญ่อยู่บริเวณพื้นที่ภูเขา เชิงเขา หรือที่ราบ มีการขุดดิน-เจาะหน้าดิน ปรับพื้นที่ บดอัดที่ดิน
                  ถมดิน และระเบิดภูเขา เพื่อวางรากฐาน การเข้าถึงแหล่งแร่ การขนส่งล าเลียง รวมทั้งกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง

                  ซึ่งอาจก่อให้เกิดความชันของพื้นที่มากขึ้นหรือลดลง รวมทั้งเป็นการเพิ่มน้ าหนักของมวลดินบนภูเขาหรือสันเขา
                  และเกิดการเคลื่อนของดินในบริเวณใกล้เคียงได้

                             3) พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง
                                การก่อสร้างบริเวณภูเขา ไหล่เขา เชิงเขา หรือพื้นที่ลาดชัน โดยไม่มีการค านวณด้านวิศวกรรม

                  ที่ถูกต้อง เหมาะสม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย สถานที่พักผ่อน โรงแรม และรีสอร์ท เป็นต้น ท าให้มวลดินมีน้ าหนัก

                  มากขึ้นและอาจเป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่ม
                             4) แหล่งน้ าที่สร้างขึ้น

                                การชลประทานหรือการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อการก่อสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ หรืออ่างเก็บน้ า

                  อาจจะไม่ส่งผลกระทบด้านลบ แต่ท าให้ความลาดชันของพื้นที่บริเวณการก่อสร้างหรือบริเวณใกล้เคียง
                  เปลี่ยนแปลงไป

                             5) สถานีคมนาคม
                                การตัดถนนในบริเวณที่ลาดเชิงเขา อาจก่อให้เกิดความชันของพื้นที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อฝนตก

                  ต่อเนื่องน้ าซึมลงในดินอย่างรวดเร็ว เมื่อถึงจุดหนึ่งดินจะอิ่มตัวชุ่มด้วยน้ า ส่งผลให้น้ าหนักของมวลดินเพิ่มขึ้น
                  และแรงยึดเกาะระหว่างมวลดินลดลง ระดับน้ าใต้ผิวดินเพิ่มสูงขึ้นท าให้แรงต้านทานการเลื่อนไหลของดินลดลง

                  จึงเกิดการเลื่อนไหลของตะกอนมวลดินและหิน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158