Page 152 - การจัดทำแผนที่แสดงความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 152

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          ๔๗


                                                            บทที่ 4



                                                            บทสรุป


                  4.1 สรุปผลการวิเคราะห์และจ าแนกความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

                             ผลการวิเคราะห์และจ าแนกความลาดชันของพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จากแบบจ าลองระดับสูงเชิงเลข
                  มาตราส่วน 1: 4,000 โครงการจัดท าแผนที่เพื่อการบริหารทรัพยากรธรรมชาติและทรัพย์สินของกระทรวงเกษตร

                  และสหกรณ์ ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ตามหลักเกณฑ์การจ าแนกความลาดชันของพื้นที่เพื่อการพัฒนาที่ดิน
                  กรมพัฒนาที่ดิน มีความสอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ สรุปได้ดังนี้

                             ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภูเขาสูงและพื้นที่ราบลุ่มแบบท้องกระทะ
                  พื้นที่มีลักษณะลาดเทจากบริเวณตอนเหนือลงมาบริเวณตอนใต้ของจังหวัด โดยพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นทิวเขาสูง

                  ของเทือกเขาเพชรบูรณ์สลับซับซ้อนเป็นสันยาวต่อเนื่องกัน ส่วนบริเวณตอนกลางลงมาถึงบริเวณพื้นที่ตอนใต้

                  ของจังหวัด เป็นพื้นที่เกือบราบและที่ราบ มีเทือกเขาขนาบกันไปทั้งสองข้างมีลักษณะเป็นรูปเกือกม้า มีแม่น้ าป่าสัก
                  เป็นแม่น้ าสายส าคัญไหลผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัดจากทิศเหนือไปทิศใต้ ยาวประมาณ 350 กิโลเมตร

                  พื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชท าการเกษตร รวมทั้ง

                  สภาพภูมิประเทศส่งเสริมปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจากการวิเคราะห์และ
                  จ าแนกความลาดชันของพื้นที่ พบว่า

                             จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 29.06
                  ของพื้นที่จังหวัด ลักษณะพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ

                             รองลงมาอันดับที่ 2 ได้แก่ พื้นที่ความลาดชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 14.22
                  ของพื้นที่จังหวัด ลักษณะพื้นที่เป็นเนินเขา มีความลาดชัน

                             อันดับที่ 3  ได้แก่  พื้นที่ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 14.13  ของพื้นที่จังหวัด

                  ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชันน้อยมาก
                             อันดับที่ 4  ได้แก่  พื้นที่ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 12.77 ของพื้นที่จังหวัด

                  ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชันเล็กน้อย

                             อันดับที่ 5  ได้แก่  พื้นที่ความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 10.61 ของพื้นที่จังหวัด
                  ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขา มีความลาดชันสูง

                             อันดับที่ 6  ได้แก่  พื้นที่ความลาดชัน มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 10.01 ของพื้นที่จังหวัด
                  ลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูงชัน เทือกเขา หุบเขา หน้าผา หรือยอดเขาแหลม มีความสูงชันมาก

                             อันดับที่ 7  ได้แก่  พื้นที่ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นร้อยละ 9.20 ของพื้นที่จังหวัด
                  ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชัน มีความลาดชันปานกลาง
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157