Page 73 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       62







                              จากตารางที่ 9 และ 11 พบว่า พื้นที่ด าเนินการบ้านทุ่งดินด า หมู่ 6 บริเวณพื้นที่ปลูกข้าวโพด
                       ที่มีความลาดชันสูงตั้งแต่ 12-35 เปอร์เซ็นต์ ที่ไม่มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า มีการสูญเสียดินอยู่ใน
                       ระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก อัตราการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 19.48 – 27.83 ตันต่อไร่ต่อปี จ าเป็นต้อง
                       มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเร่งด่วน ซึ่งหลังจากมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าแล้ว พบว่า การ

                       สูญเสียดินมีค่าลดลงอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง อัตราการสูญเสียดินอยู่ระหว่าง 2.73 – 5.01 ตัน
                       ต่อไร่ต่อปี (ภาพที่ 13 และ 15) และจากตารางที่ 12 เปรียบเทียบระดับการสูญเสียดิน ก่อนและหลัง
                       ด าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า หลังจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า ระดับการสูญเสียดินรุนแรง
                       มากลดลงเป็นระดับการสูญเสียดินปานกลาง และ ระดับการสูญเสียดินรุนแรงลดลงเป็นระดับการ

                       สูญเสียดินน้อย

                          4.6 ผลการการจัดท าโครงการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ า
                              4.6.1กิจกรรมก่อสร้างคูรับน้ าขอบเขา (คันดินแบบที่ 5)
                              พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โล่งเตียน และมีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายของหน้าดินสูง
                       สภาพภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูง ความลาดชัน 20 - 35  เปอร์เซ็นต์ ในช่วงฤดูแล้งมักจะประสบกับ

                       ปัญหาภัยแล้ง ในช่วงฤดูฝนประสบปัญหาการชะล้างหน้าดินสูง การด าเนินการก่อสร้างคูรับน้ าขอบ
                       เขา (คันดินแบบที่ 5)  จึงเป็นวิธีที่เหมาะสม ช่วยลดปัญหาดังกล่าวข้างต้นได้ ทั้งนี้ ได้มีการรณรงค์
                       ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก เพื่อช่วยลดการพัดพาน้ าและตะกอนดินอันจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์
                       บริเวณผิวดินได้อีกระดับหนึ่ง

                              คันคูรับน้ าขอบเขา มีขั้นตอนการด าเนินงานดังนี้ ก าหนดผังวางแนวตามแผนที่และแบบงาน
                       จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ าที่ผ่าการเห็นชอบจากเกษตรกรแล้ว  ปักหมุดวัดระยะวางแนวระดับด้วย
                       กล้องส่องระดับ เพื่อให้คันดินอยู่ในระดับเดียวกัน  ขุดโดยใช้แรงงานคนเป็นรูปสามเหลี่ยมระยะห่าง

                       ของคูรับน้ าขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศเพื่อลดความยาวของความลาดเทของพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง
                       ออกเป็นช่วง ๆ เพื่อเก็บกักน้ าหรือระบายน้ าออกจากพื้นที่ในทิศทางที่ต้องการ ท าให้น้ าไหลบ่าแต่ละ
                       ช่วงมีปริมาณน้อยลงลดการกัดเซาะ และการพังทลายของดิน  นอกจากนี้ยังใช้เป็นทางล าเลียงได้ คิด
                       ปริมาตรดินที่ด าเนินการขุด 1  เมตรต่อ 0.30 ลูกบาศก์เมตร หรือ 1 กิโลเมตรต่อ 300  ลูกบาศก์
                       เมตร ได้ระยะทาง จ านวน 79.37 ก.ม. ดังภาพที่ 17 ถึง 23
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78