Page 44 - การจัดการระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยโป่ง ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงตอนบน ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำปิง บ้านทุ่งดินดำ หมู 6 ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         33






                                                             บทที่ 3


                                                         การตรวจเอกสาร

                       3.1 นิยามและค าศัพท์

                            การพัฒนาที่ดิน (Land  development) มีความหมายว่า การกระท าใด ๆ ต่อดินหรือที่ดินเพื่อ
                       เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินหรือที่ดินหรือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้สูงขึ้นและ

                       หมายความรวมถึงการปรับปรุงบ ารุงดินหรือที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติหรือขาดความ
                       อุดมสมบูรณ์เพราะการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ดินและน้ าเพื่อรักษาดุลธรรมชาติหรือเพื่อความ
                       เหมาะสมในการใช้ที่ดินเพื่อการเกษตร (กรมพัฒนาที่ดิน, 2551) ดังนั้น พอแบ่งหลักการพัฒนาที่ดิน
                       ออกได้เป็น 2 อย่างดังนี้ (1) ส่งเสริมให้มีการน าที่ดินที่ยังไม่เคยใช้ประโยชน์ให้มาอยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์
                       ในกิจกรรมต่าง ๆเช่นด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรมพาณิชย์กรรมและที่อยู่อาศัยเป็นต้น (2) ส่งเสริมให้

                       ที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้ได้รับประโยชน์หรือผลตอบแทนอย่างเต็มที่โดยวิธีปรับปรุงบ ารุงดินด้วย
                       วิธีการต่าง ๆ (ดิเรก, 2555)  การพัฒนาที่ดิน เป็นการบริหารจัดการ และด าเนินการ หรือปฏิบัติต่อดิน
                       หรือที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของดินหรือที่ดิน หรือเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้

                       สูงขึ้น โดยการบูรณาการงานอนุรักษ์ดินและน้ า รวมถึงการปรับปรุงดินหรือที่ดินที่ขาดความอุดม
                       สมบูรณ์ตามธรรมชาติหรือขาดความอุดมสมบูรณ์เพราะการใช้ประโยชน์ในที่ดิน เพื่อฟื้นฟูรักษาสมดุล
                       ธรรมชาติและวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ดินเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน ดังนั้น จึงสามารถแบ่ง
                       หลักการพัฒนาที่ดินออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1) การพัฒนาที่ดินที่ยังไม่เคยใช้ประโยชน์ให้มาอยู่ใน

                       รูปที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม และที่อยู่อาศัย
                       เป็นต้น 2) การพัฒนาที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มที่ โดยการอนุรักษ์ดิน
                       และน้ า รวมถึงการฟื้นฟูปรับปรุงบ ารุงดินด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
                              เขตพัฒนาที่ดิน หมายถึง บริเวณของพื้นที่ลุ่มน้ าที่มีสภาพพื้นที่และปัญหาเด่นชัด ซึ่งเป็น

                       ตัวแทนของจังหวัด หรือส านักงานพัฒนาที่ดินเขต น ามาเป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาโดยใช้
                       เทคโนโลยีการจัดการดินภายใต้ภารกิจหรือกิจการที่กรมพัฒนาที่ดินมอบหมายให้น ามาด าเนินการแก้ไข
                       ปัญหาในพื้นที่“ด าเนินการ” แบบเบ็ดเสร็จ ทั้งนี้เสริมด้วยการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานที่จ าเป็นและ
                       เหมาะสม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดินที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งลุ่มน้ า หมายถึง พื้นที่หน่วย

                       หนึ่งซึ่งครอบคลุมล าน้ าธรรมชาติ เพื่อท าหน้าที่รวบรวมน้ าให้ไหลลงสู่แม่น้ าหนึ่ง พื้นที่ลุ่มน้ าแต่ละแห่ง
                       จะมีขนาดไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิศาสตร์ และวัตถุประสงค์ในการจัดแบ่งพื้นที่เพื่อการบริหาร
                       จัดการ พื้นที่ลุ่มน้ า หมายถึง หน่วยของพื้นที่ซึ่งล้อมรอบด้วยสันปันน้ า เป็นพื้นที่รัยน้ าฝนของแม่น้ าสาย

                       หลัก ในลุ่มน้ านั้น ๆ เมื่อฝนตกลงมาในพื้นที่ลุ่มน้ าจะไหลออกสู่ล าธารสายย่อย ๆ แล้วรวมกันออกสู่ล า
                       ธารสายใหญ่ และรวมกันออกสู่แม่น้ าสายหลัก จนไหลออกปากน้ าในที่สุด (ค ารณ, 2552)
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49