Page 62 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           50




                        การศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางและขั้นตอนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS สําหรับการจัดทําและ
                  วิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ประกอบในการสํารวจดิน โดยทําการวิเคราะห์กระบวนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS
                  ในการจัดทําชั้นข้อมูลพื้นฐาน วิเคราะห์สภาพพื้นที่ และจัดทําขอบเขตหน่วยแผนที่ต้นร่าง อีกทั้งใช้ในการ

                  กําหนดแนวจุดศึกษาดิน สําหรับการตรวจสอบลักษณะและสมบัติดินในการสํารวจภาคสนาม รวมถึงการ
                  รวบรวมข้อมูลการสํารวจดินในภาคสนาม และการนําเข้าข้อมูลจากหลุมเจาะดิน โดยให้ข้อมูลดังกล่าวอยู่ใน
                  รูปแบบของชั้นข้อมูล GIS ซึ่งสามารถใช้ในการวิเคราะห์และกําหนดหน่วยแผนที่ในขั้นตอนการจัดทําแผนที่ดิน

                        ผลจากการวิเคราะห์กระบวนการดังกล่าว สามารถสรุปเป็นแนวทางและขั้นตอนการจัดทําชั้นข้อมูล (layer)
                  บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าให้อยู่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) และข้อมูลเชิง

                  บรรยาย (attribute data) โดยให้ข้อมูลทั้งหมดอยู่ในระบบพิกัดเดียวกัน ได้แก่ เส้นชั้นความสูง (contour)
                  ความลาดชัน (slope) และการตกกระทบของแสง (hillshade) จากแบบจําลองระดับสูงเชิงเลข (DEM)
                  โดยการประยุกต์ใช้วิธีการวิเคราะห์พื้นผิว (surface analysis) และ Model Builder จากโปรแกรม
                  ArcGIS มาใช้ในการจัดเตรียมและจัดทําชั้นข้อมูล เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทํางาน (สุเพชร, 2555) สามารถ

                  สรุปเป็นแนวทางและขั้นตอนการทํางาน ได้ดังนี้

                        1.1 การเตรียมและจัดทําชั้นข้อมูลพื้นฐานด้วย GIS

                             ข้อมูลที่จําเป็นในการเตรียมและจัดทําชั้นข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย แบบจําลองระดับสูงเชิงเลข
                  หรือ DEM จํานวน 4 ระวาง ได้แก่ ระวางที่ 4945I 4945II 5045IV และ 5045III ซึ่งครอบคลุมทั้งพื้นที่ศึกษา
                  โดยอยู่ในรูปแบบราสเตอร์ (raster) และขอบเขตลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้า ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ shapefile และ
                  มีระบบพิกัดอ้างอิง มีขั้นตอนดังนี้

                             1.1.1 ชั้นข้อมูลแบบจําลองระดับสูงเชิงเลข

                                   1) เปิดโปรแกรม ArcMap ( ) ไปที่แถบเครื่องมือแล้วเลือกคําสั่ง Model Builder ( )

                  จากนั้นลากชั้นข้อมูลและเครื่องมือจาก ArcToolbox ( ) มาวางในหน้าต่างโมเดล (Model) ได้แก่ ชั้นข้อมูล
                  DEM (4 ระวาง) เครื่องมือ Mosaic To New Raster (Data Management Tools >> Raster >> Raster
                  Dataset) และเครื่องมือ Clip (Data Management Tools >> Raster >> Raster Processing) แล้วเลือก
                  Add Connection ( ) เพื่อเชื่อมโยงชั้นข้อมูล และกล่องเครื่องมือ ดังภาพที่ 11


                                   2) ดับเบิ้ลคลิ๊กที่กล่องเครื่องมือ Mosaic To New Raster เพื่อกําหนดที่ตั้ง ชื่อ และสกุล
                  ของไฟล์ โดยตั้งค่า Pixel Type เป็น 64 bits และ Number of Bands เท่ากับ 1 แล้วกด OK จากนั้น
                  ดับเบิ้ลคลิ๊กที่กล่องเครื่องมือ Clip เลือกชั้นข้อมูลขอบเขตลุ่มน้ําสาขาที่ต้องการตัดในช่อง Output Extent แล้ว
                  เลือกที่ช่อง Use Input Features for Clipping Geometry และกําหนดชื่อของไฟล์ แล้วกด OK ดังภาพที่ 12

                                   3) ทําการ Validate Entire Model (  ) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของแบบจําลอง

                  จากนั้นทําการ Run ( ) รอจนกว่าแบบจําลองจะดําเนินการเสร็จ และยังสามารถ Save แบบจําลองไว้
                  เพื่อเรียกใช้ได้อีก โดยเลือกคําสั่ง Model ที่แถบเครื่องมือแล้วเลือก Save เก็บไว้ใน Toolbox (ภาพที่ 13)
                  เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนนี้ จะได้เป็นชั้นข้อมูลแบบจําลองระดับสูงเชิงเลข (DEM) (ภาพที่ 14)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67