Page 143 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          115




                        3.2 การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                             การประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน (ณรงค์, 2544; Land Classification Division
                  and FAO Project Staff, 1973) บริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าทั้ง 13 พีดอน พบว่า ส่วนใหญ่มีระดับความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ความลึก 0 - 25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความ
                  อุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ําถึงสูง และที่ความลึก 25 - 50 และ 50 - 100 เซนติเมตรจากผิวดิน

                  มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของดินอยู่ในระดับต่ําถึงปานกลาง ทั้งนี้เนื่องจากดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้านั้น
                  มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์สูง แต่มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ําทําให้ความอุดมสมบูรณ์
                  ของดินบริเวณลุ่มน้ําสาขาน้ําแม่ต้าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยดินที่มีระดับความอุดมสมบูรณ์ของ

                  ดินบนอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ดินวังสะพุงที่มีสีน้ําตาล (Ws-br) ดังแสดงในตารางที่ 11
                                1) ชุดดินสุโขทัย (Skt) ที่ความลึก 0 - 25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง

                  เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ํา ส่วนที่ความลึก 25 - 50 และ
                  50 - 100 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส
                  ที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ํา

                                2) ดินดงยางเอนที่มีจุดประสีเทาและมีคันนา (Don-gm,ant) ที่ความลึก 0 - 25 เซนติเมตร

                  จากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
                  อยู่ในระดับต่ํา และที่ความลึก 25 - 50 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมี
                  ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ในระดับต่ํา ส่วนที่ความลึก 50 - 100
                  เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ํา เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็น

                  ประโยชน์ ปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ในระดับต่ํา

                                3) ชุดดินแพร่ (Pae) มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง ตั้งแต่ดินชั้นบนถึงระดับความลึก
                  100 เซนติเมตรจากผิวดิน เนื่องจากมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ํา
                                4) ดินตะกอนน้ําพาเชิงซ้อนที่มีการระบายน้ําดีและเป็นดินร่วนหยาบ (AC-wd,col)
                  ที่ความลึก 0 - 25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ

                  และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ในระดับต่ํา ที่ความลึก 25 - 50 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับ
                  ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ และค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนอยู่ใน
                  ระดับต่ํา แต่มีปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับสูง และที่ความลึก 50 - 100 เซนติเมตรจากผิวดิน
                  มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง


                                5) ดินวังสะพุงที่เป็นดินลึก (Ws-vd) ที่ความลึก 0 - 25 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับ
                  ความอุดมสมบูรณ์ต่ํา ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ค่าความจุแลกเปลี่ยน
                  แคตไอออน และอัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสอยู่ในระดับต่ําทั้งหมด ที่ความลึก 25 - 50 เซนติเมตรจากผิวดิน
                  มีระดับความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เนื่องจากมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ํา ส่วนความลึก
                  50 - 100 เซนติเมตรจากผิวดิน มีระดับความอุดมสมบูรณ์ต่ํา เนื่องจากมีปริมาณอินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส

                  ที่เป็นประโยชน์ และปริมาณโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับต่ํา
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148