Page 142 - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการสำรวจทรัพยากรดินในพื้นที่สูงบริเวณลุ่มน้ำสาขา น้ำแม่ต้า (ลุ่มน้ำยม)
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          114





                                ดินท่าลี่ที่เป็นร่วนปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก (Tl-lsk-1) พบว่า มีแร่เวอร์มิคิวไลต์เป็น
                  องค์ประกอบเชิงแร่หลัก โดยชั้นดินบนพบในปริมาณปานกลาง (20 – 40 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มขึ้นปริมาณสูง
                  (40 – 60 เปอร์เซ็นต์) ในชั้นดินล่าง อีกทั้งยังมีแร่เคโอลิไนต์ปริมาณปานกลาง (20 – 40 เปอร์เซ็นต์) ในชั้นดินบน
                  และลดลงในชั้นดินล่าง (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงแร่ควอตซ์ที่พบในปริมาณน้อย (5 – 20 เปอร์เซ็นต์)
                  ตลอดหน้าตัดดิน ส่วนแร่ดินเหนียวสอดชั้น 1.0 & 1.4 นาโนเมตรมีปริมาณเล็กน้อยถึงน้อย


                                ดินท่าลี่ที่เป็นร่วนปนชิ้นส่วนหยาบปริมาณมาก (Tl-lsk-2) พบว่า มีแร่อิลไลต์ และแร่เคโอลิไนต์
                  เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลัก โดยชั้นดินบนพบในปริมาณเล็กน้อยถึงน้อย และเพิ่มขึ้นปริมาณปานกลาง
                  (20 – 40 เปอร์เซ็นต์) ในชั้นดินล่าง ส่วนแร่ควอตซ์และแร่ดินเหนียวสอดชั้น 1.0 & 1.4 นาโนเมตรมีปริมาณ
                  เล็กน้อยในดินชั้นบน

                                ดินเชียงของที่มีอุณหภูมิดินแบบ isohyperthermic และเป็นดินเหนียว (Cg-low,f) พบว่า

                  มีแร่เคโอลิไนต์เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลัก โดยชั้นดินบนพบในปริมาณน้อย (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) และเพิ่มขึ้น
                  ปริมาณสูง (40 – 60 เปอร์เซ็นต์) ในชั้นดินล่าง อีกทั้งยังพบแร่มอนต์มอริลโลไนต์ และแร่อิลไลต์ในปริมาณน้อย
                  (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) ส่วนแร่ควอตซ์มีปริมาณเล็กน้อย (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์)

                                สมบัติทางแร่วิทยาในกลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียวของดินที่ทําการศึกษาทั้ง 13 พีดอน
                  พบแร่อิลไลต์เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลักในเกือบทุกบริเวณ ยกเว้น Pae และ Tl-lsk-1 ที่มีแร่เวอร์มิคิวไลต์

                  เป็นองค์ประกอบหลัก และ Bar นั้นมีแร่หลักประกอบด้วยมอนต์มอริลโลไนต์ ส่วน Ty และ Cg-low,f มีแร่หลัก
                  ประกอบด้วยเคโอลิไนต์ ซึ่งการพบแร่เคโอลิไนต์เป็นองค์ประกอบเชิงแร่หลักในดิน แสดงว่าดินมีพัฒนาการสูง
                  กว่าดินที่มีแร่ดินเหนียวประเภท 2:1 (อัญชลี, 2534) และผ่านการสลายตัวผุพังอย่างรุนแรง รวมถึงแสดงว่าดิน
                  มีการระบายน้ําค่อนข้างดีจนถึงดี (Gidden et al., 1960; Goss and Allew, 1968) โดยสภาพที่มีการระบายน้ําดี

                  ทําให้มีการชะละลายสูง จึงทําให้ธาตุที่เป็นเบสถูกชะละลายออกไปจากหน้าตัดดินได้ง่าย ทําให้มีไฮโดรเจน
                  ในสภาพไอออนมาสะสมที่ผิวอนุภาคดินมากขึ้น เป็นเหตุให้มีความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออนสูง ดินเป็นกรด
                  ซึ่งเหมาะสมต่อการเกิดแร่เคโอลิไนต์ (Goudic, 1973; Gilkes and Suddhiprakarn, 1979)

                                ผลการศึกษาอนุภาคขนาดทรายแป้ง พบว่า ทุกพีดอนตลอดหน้าตัดดินมีแร่ควอตซ์เป็น
                  องค์ประกอบเชิงแร่หลัก โดย Skt, Don-gm,ant, Pae, Ws-vd, Ws-br, Ml-lsk, Ty, Tl-lsk-1, Tl-lsk-2 และ

                  Cg-low,f พบแร่ควอตซ์ในปริมาณสูง (40 – 60 เปอร์เซ็นต์) ส่วน AC-wd,col, Ws และ Bar พบปริมาณปานกลาง
                  (20 – 40 เปอร์เซ็นต์) แร่เฟลด์สปาร์พบปริมาณน้อย (5 – 20 เปอร์เซ็นต์) ใน Bar และปริมาณเล็กน้อย
                  (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ใน AC-wd,col, Ty, Tl-lsk-1 และ Cg-low,f แร่ไมกาพบปริมาณเล็กน้อย

                  (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ใน Don-gm,ant, Ws-vd, Ws-br และ Tl-lsk-2 แร่อนาเทสพบปริมาณเล็กน้อย
                  (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ใน Don-gm,ant, Pae, Ws-vd และ Cg-low,f แร่ดินเหนียวชนิด 0.7 นาโนเมตรพบ
                  ปริมาณเล็กน้อย (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ใน Don-gm,ant, Tl-lsk-1 และ Cg-low,f ส่วนแร่ดินเหนียวชนิด
                  1.0 นาโนเมตรจะพบปริมาณเล็กน้อย (น้อยกว่า 5 เปอร์เซ็นต์) ใน Skt, AC-wd,col, Ml-lsk และ Bar

                                การที่พบแร่ควอตซ์เป็นแร่หลักในกลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้งนั้น เนื่องมาจากแร่ควอตซ์เป็น

                  แร่ที่ทนทานต่อการสลายตัวมากกว่าแร่ชนิดอื่น โดยแร่ชนิดอื่นมีการสลายตัวเล็กลงเป็นแร่ในกลุ่มอนุภาคขนาด
                  ดินเหนียว หรือเปลี่ยนแปลงเป็นแร่ดินเหนียวชนิดใหม่ขึ้นมา (Brikeland, 1974) แต่ควอตซ์จะมีความคงทนต่อ
                  การสลายตัวทั้งทางกายภาพ และเคมี จึงทําให้พบในอนุภาคขนาดทรายแป้งได้ (อัญชลี, 2534; Calvert et al., 1980)
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147