Page 182 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 182

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          160




















                  ภาพภาคผนวกที่ 2 เครื่องมือหาค่าขีดจํากัดของเหลว (liquid limit: LL)

                                3) เคาะถ้วยทองเหลืองด้วยความเร็วสม่ําเสมอ 2 ครั้งต่อวินาที จนกระทั่งดินตอนล่างของ
                  รอยบากเคลื่อนเข้าบรรจบกัน 13 มิลลิเมตร (1/2 นิ้ว) ดังภาพภาคผนวกที่ 3 แล้วจดบันทึกจํานวนครั้งของ

                  การเคาะไว้


















                  ภาพภาคผนวกที่ 3 ดินตอนล่างของรอยบากเคลื่อนเข้าบรรจบกัน 13 มิลลิเมตร


                                4) ปาดแต่งดินอีกครั้ง ทํารอยบากแล้วเคาะซ้ํา ถ้าจํานวนการเคาะเท่ากันหรือห่างกันไม่เกิน 2
                  ครั้งให้ใช้ค่าเฉลี่ยเป็นจํานวนการเคาะ (N) ที่ถูกต้อง นําดินบริเวณรอยบากไปหาปริมาณความชื้น (การเคาะ
                  ครั้งแรก จํานวนครั้งควรจะประมาณ 40 - 50 ครั้ง ถ้ามากกว่าให้เพิ่มน้ําอีก แต่ถ้าน้อยกว่าให้ทําให้ดินแห้งลง)
                                5) ผสมน้ําในดินแล้วทําตามข้อ 3 และ 4 โดยให้มีจํานวนครั้งของการเคาะน้อยลงประมาณ

                  10 ครั้ง แล้วนําดินไปหาความชื้น ทําเช่นนี้จนได้จํานวนครั้งของการเคาะอย่างน้อย 4 ค่า (จํานวนการเคาะครั้ง
                  สุดท้ายควรอยู่ประมาณ 5 ถึง 10 ครั้ง)
                                6) เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่างจํานวนการเคาะ (N) และความชื้นโดยให้จํานวนการเคาะ

                  อยู่ในรูปของสเกลลอการิทึม ดังแสดงในภาพภาคผนวกที่ 4
                                7) ความสัมพันธ์ดังกล่าวควรจะเป็นเส้นตรง ค่าความชื้นที่จํานวนการเคาะ 25 ครั้ง เรียกว่าค่า
                  ขีดจํากัดของเหลว (liquid limit: LL)
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187