Page 180 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 180

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          158



                  การวิเคราะห์สมบัติทางปฐพีกลศาสตร์
                        การวิเคราะห์สมบัติทางปฐพีกลศาสตร์เพิ่มเติม ในเรื่องการกระจายขนาดของเม็ดดิน ค่าขีดจํากัด
                  ของเหลว ค่าขีดจํากัดพลาสติก และค่าดัชนีพลาสติก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ ดังนี้

                           1. การกระจายขนาดของเม็ดดิน (grain size distribution: GSD)

                             ปริมาณน้ําหนักดินแห้งที่พอดีจะใช้ในการทดสอบการกระจายของเม็ดดินขึ้นอยู่กับขนาดของ
                  เม็ดดินใหญ่สุด ดังแสดงในตารางภาคผนวกที่ 1 เพื่อให้ผลการวิเคราะห์มีความถูกต้องและแม่นยํา จําเป็น
                  จะต้องเตรียมปริมาณตัวอย่างดินสําหรับการทดสอบให้พอเหมาะกับขนาดของเม็ดดินที่ทดสอบ เมื่อตัวอย่างดิน
                  มีขนาดเม็ดใหญ่ขึ้นต้องเพิ่มปริมาณตัวอย่างดินมากขึ้นตามลําดับขนาดของตัวอย่างดินสําหรับการทดสอบ

                  ตะแกรงร่อน (วรากร, 2525; สถาพร, 2541) โดยขนาดของตะแกรงที่ใช้จําแนกชนิดของดินที่สําคัญมีเบอร์ 4,
                  เบอร์ 10, เบอร์ 40 และเบอร์ 200 ซึ่งเป็นขนาดแบ่งชนิดของกรวด ทรายหยาบ ทรายหยาบปานกลาง ทราย
                  ละเอียด และดินเม็ดละเอียด จากขนาดตะแกรงหลักเหล่านี้ การวิเคราะห์การกระจายขนาดของเม็ดดิน โดยวิธี
                  ร่อนผ่านตะแกรงแบบร่อนเปียก มีขั้นตอนดังนี้

                                1) ชั่งน้ําหนักตะแกรงเบอร์ 4, เบอร์ 10, เบอร์ 40 และเบอร์ 200 ซึ่งมีขนาดช่องตะแกรง
                  4.75, 2.00, 0.425 และ 0.075 มิลลิเมตร ตามลําดับ (Bowles, 1979) โดยเครื่องชั่งทศนิยม 2 ตําแหน่ง
                                2) ชั่งน้ําหนักตัวอย่างดิน 500 กรัม ซึ่งตัวอย่างดินที่ใช้เม็ดดินต้องไม่จับตัวกันและแห้งสนิท
                                3) ในกรณีที่ตัวอย่างดินเกาะเป็นก้อนใหญ่ ให้แยกดินออกเป็นเม็ดอิสระด้วยค้อนยาง แต่ต้อง

                  ระวังอย่าให้แรงมากจนเม็ดดินแตก
                                4) นําตัวอย่างดินที่ชั่งน้ําหนักแล้วใส่ลงในตะแกรงที่เรียงลําดับจากตะแกรงเบอร์ 4, เบอร์ 10,
                  เบอร์ 40 และเบอร์ 200 ตามลําดับ โดยมีฝาปิดด้านบนและมีถาดรับด้านล่าง รวมเป็นเถาของตะแกรงนําไปเข้า
                  เครื่องเขย่า (sieve shaker) เขย่าประมาณ 10 นาที ดังแสดงในภาพภาคผนวกที่ 1


                  ตารางภาคผนวกที่ 1 ขนาดและน้ําหนักตัวอย่างดินสําหรับการทดสอบตะแกรงร่อน

                                           ขนาดเม็ดดินใหญ่สุด                      น้ําหนักตัวอย่างดิน

                         ดินเม็ดละเอียด

                            ดินผ่านตะแกรงเบอร์ 8 ขนาด 2.36 มิลลิเมตร มากกว่า 95%       100 กรัม
                            ดินผ่านตะแกรงเบอร์ 4 ขนาด 4.75 มิลลิเมตร มากกว่า 90%       500 กรัม

                         ดินเม็ดหยาบ
                              9.52 มิลลิเมตร                                           1 กิโลกรัม
                            12.70 มิลลิเมตร                                            2 กิโลกรัม

                            19.05 มิลลิเมตร                                            5 กิโลกรัม

                            25.40 มิลลิเมตร                                           10 กิโลกรัม
                            38.10 มิลลิเมตร                                           15 กิโลกรัม
                            50.80 มิลลิเมตร                                           20 กิโลกรัม

                            63.50 มิลลิเมตร                                           25 กิโลกรัม

                            76.20 มิลลิเมตร                                           30 กิโลกรัม
                            88.90 มิลลิเมตร                                           35 กิโลกรัม
   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185