Page 181 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 181

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          159



                                5) หลังจากนั้นแยกตะแกรงแต่ละอันออกมา ทําการล้างดินผ่านตะแกรงเบอร์ 4, เบอร์ 10,
                  เบอร์ 40 และเบอร์ 200 ตามลําดับ ล้างดินผ่านตะแกรงจนน้ําใส แสดงว่าดินเม็ดละเอียดผ่านตะแกรงหมดแล้ว
                  ส่วนที่ค้างนําไปอบแห้ง แล้วนํามาร่อนผ่านตะแกรงขนาดต่างๆ แบบร่อนแห้งอีกครั้ง จากนั้นแยกตะแกรงแต่ละ

                  ขนาดมาชั่งน้ําหนัก จะเป็นน้ําหนักตะแกรง + น้ําหนักดินที่ค้างบนตะแกรง
                                6) สูตรการคํานวณค่าเปอร์เซ็นต์ตัวอย่างดินที่ผ่านตะแกรงแบบร่อนเปียก (สถาพร, 2541;
                  Jumikis, 1962)
                                   6.1) น้ําหนักตัวอย่างดินที่ค้างบนตะแกรงแต่ละขนาด

                           น้ําหนักตัวอย่างดินที่ค้างบนตะแกรง = (น้ําหนักตะแกรง + ดิน) – น้ําหนักตะแกรง             (6)

                                   6.2) ตรวจสอบน้ําหนักตัวอย่างดินที่นํามาทดสอบ โดยรวมน้ําหนักดินที่ค้างบนตะแกรงแต่
                  ละขนาดจนถึงถาดรับ ไม่ควรหายเกิน 2 เปอร์เซ็นต์

                                   6.3) น้ําหนักสะสมที่ค้างบนตะแกรงแต่ละขนาดเป็นเปอร์เซ็นต์

                  เปอร์เซ็นต์น้ําหนักสะสมที่ค้างบนตะแกรง = (น้ําหนักสะสมที่ค้างบนตะแกรง/น้ําหนักดินรวม)*100            (7)

                                   6.4) เปอร์เซ็นต์ตัวอย่างดินที่ผ่านตะแกรงแต่ละขนาด

                        เปอร์เซ็นต์ตัวอย่างดินที่ผ่านตะแกรง = 100 – เปอร์เซ็นต์น้ําหนักสะสมที่ค้างบนตะแกรง            (8)

















                  ภาพภาคผนวกที่ 1 ตะแกรงที่มีฝาปิดด้านบนและมีถาดรับด้านล่างไปเข้าเครื่องเขย่า (sieve shaker)


                           2. ค่าขีดจํากัดของเหลว (liquid limit: LL)
                             เป็นค่าขีดจํากัดความชื้นของดินระหว่างสภาพพลาสติกกับสภาพของเหลว ค่าความชื้นของดิน
                  เมื่อนํามาผสมและบรรจุในกระทะมาตรฐาน ปาดด้วยพายสแตนเลส แล้วบากด้วยเครื่องมือบากร่องมาตรฐาน

                  เคาะกระทะที่บรรจุดินไว้ด้วยอัตราความเร็ว 120 ครั้งต่อนาที จํานวนเคาะ 25 ครั้ง ร่องดินที่ปาดไว้ไหลเข้ามา
                  ชนกันประมาณ 13 มิลลิเมตร โดยการวิเคราะห์ค่าขีดจํากัดของเหลว มีขั้นตอนดังนี้
                                1) ร่อนตัวอย่างดินแห้งผ่านตะแกรงเบอร์ 40 ประมาณ 200 กรัม
                                2) นําตัวอย่างดินมาผสมน้ําโดยให้น้ําเข้าไปในเนื้อดินอย่างทั่วถึง ในบางกรณีอาจจะต้องแช่ดิน
                  ที่ผสมดังกล่าวทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ใช้พายสแตนเลส (spatula) ตักดินปาดลงบนถ้วยทองเหลือง (casagrande cup)

                  โดยความหนาของดินตรงกลางประมาณ 10 มิลลิเมตร แล้วบากโดยเครื่องมือบาก (grooving tool) ให้เป็นร่อง
                  ตรงกลาง (Head, 1980) ดังภาพภาคผนวกที่ 2
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186