Page 63 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 63

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                     อะลูมินัม และเหล็กออกไซด์ในดินสามารถดูดยึดฟอสฟอรัสไว้ได้สูง (Fink et  al.,

                       2016) ธาตุดังกล่าวจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน


                       1. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง


                               1.1 กลุ่มดินเหนียว

                               ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ 1, 3, 4, 5, 6 และ 7


                               กลุ่มชุดดินที่ 1 กลุ่มดินเหนียวสีด า ที่มีรอยแตกระแหงกว้างและลึกในหน้าแล้ง
                       พบในพื้นที่ราบลุ่มต่ า ใช้ปลูกข้าว ดินบนมีสีด า ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาลหรือสีแดง

                       การระบายน้ าของดินเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                       มากถึงเป็นกลาง (pH 5.0-7.0) ข้อมูลปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมที่รวบรวมได้ในกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่

                       ชุดดินบ้านหมี่ (Bm)  ชุดดินบุรีรัมย์ (Br)  ชุดดินช่องแค (Ck)  ชุดดินโคกกระเทียม (Kk)  และชุดดิน

                       วัฒนา (Wa) ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในกลุ่มชุดดินที่ 1 แสดงในตารางที่ 15

                               ซิลิคอน มีค่าอยู่ในพิสัย 236-305 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 277 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ

                       ซิลิคอนในดินบนสูงกว่าดินล่าง โดยชุดดินบ้านหมี่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินบุรีรัมย์มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               อะลูมินัม มีค่าอยู่ในพิสัย 75-107 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 91 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณอะลูมินัมเพิ่มขึ้นในดินล่าง ยกเว้นชุดดินบุรีรัมย์และชุดดินวัฒนา โดยชุดดินโคกกระเทียมมี
                       ค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินบ้านหมี่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด


                               เหล็ก มีค่าอยู่ในพิสัย 37- 82กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 53 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่ปริมาณ
                       เหล็กในดินบนสูงกว่าดินล่าง โดยชุดดินวัฒนามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินบ้านหมี่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด


                               ไทเทเนียม มีค่าอยู่ในพิสัย 5.7- 13.6 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 8.5 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่
                       ปริมาณไทเทเนียมในดินบนสูงกว่าดินล่าง ยกเว้นชุดดินบ้านหมี่และชุดดินวัฒนา โดยในชุดดินบุรีรัมย์

                       มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินบ้านหมี่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               โซเดียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.2-2.5 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.9 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินโคกกระเทียมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินบุรีรัมย์มีค่าเฉลี่ย

                       ต่ าสุด

                               แมกนีเซียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.6-6.2 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 3.5 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินช่องแคและชุดดินโคกกระเทียมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และ
                       ชุดดินบุรีรัมย์มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด








                                                                                                       50
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68