Page 62 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 62

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                     ตัวแปร (Variable)  ประกอบด้วย  ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม

                       ศึกษาด้วยวิธี X-ray fluorescence spectrophotometry (XRF) ประกอบด้วยธาตุ 12 ธาตุ ได้แก่
                       ซิลิคอน (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe) ไทเทเนียม (Ti) โซเดียม (Na) แมกนีเซียม (Mg) โพแทสเซียม

                       (K)  แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S)  ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn)และสังกะสี (Zn) สมบัติทาง

                       กายภาพ ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand)  ทรายแป้ง (Silt)  และดินเหนียว
                       (Clay) วัตถุต้นก าเนิด และกลุ่มชุดดิน หน่วยวิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 1,004

                       ตัวอย่าง


                                     วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis

                       เพื่อศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 56.47 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 7  ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือสหาย (Affinity
                       groups) ภาพที่ 7ก


                                     กลุ่มที่ 1 อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si) แคลเซียม (Ca) วัตถุต้นก าเนิดดิน

                       และกลุ่มชุดดิน  จากข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า อนุภาคขนาดทราย มีแร่ควอร์ต (SiO )
                                                                                                        2
                       เป็นองค์ประกอบหลักท าให้อนุภาคขนาดทราย และซิลิคอน  มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
                       (Weaver, 1975; Melegy and Agami, 2004) นอกจากนี้ซิลิคอน และแคลเซียมมีความสัมพันธ์กับ

                       วัตถุต้นก าเนิดดิน โดยเฉพาะอย่างชั้นดินล่างที่ได้รับอิทธิพลของหินปูน และหินมาร์ล (Ponge et al.,
                       2014) ทั้งนี้เนื้อดินเป็นสมบัติที่ใช้ในการจัดกลุ่มดิน ท าให้กลุ่มชุดดินถูกรวมไว้ในกลุ่มที่ 1



                                     กลุ่มที่ 2 อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt) โพแทสเซียม (K) ก ามะถัน (S) แมกนีเซียม
                       (Mg) และ โซเดียม (Na) ทั้งนี้อนุภาคขนาดทรายแป้งและโพแทสเซียมมีความสัมพันธ์กันเนื่องจากมัก

                       พบแร่อัลคาไลด์เฟลด์สปาร์ เช่น โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (Orthoclase หรือ Microcline; KAlSi O )
                                                                                                      3 8
                       โซเดียมเฟลด์สปาร์ (Albite;  NaAl  Si O ) ในอนุภาคขนาดทรายแป้ง  (Maclean  and  Brydon,
                                                       3 8
                       1963; Melo et al., 2000; Britzke et al., 2012)


                                     กลุ่มที่ 3 อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe) ไทเทเนียม (Ti)

                       แมงกานีส (Mn) ฟอสฟอรัส (P) และ สังกะสี (Zn) โดยอะลูมินัมเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบหลักของ
                       แร่ดินเหนียว (อยู่ในอนุภาคขนาดดินเหนียวเป็นส่วนใหญ่) (Beaven  and  Dumbleton,  1966;

                       WHO, 2005) โดยทั่วไป อะลูมินัม ไทเทเนียม แมงกานีส และสังกะสี เป็นธาตุที่เหลือในดิน เนื่องจาก

                       ธาตุเหล่านี้สามารถคงอยู่ในหน้าตัดดินถึงแม้ดินจะมีพัฒนาการ หรือการกร่อนสูง (Fontes  and
                       Weed, 1996; Marques et al., 2004; Wisawapipat et al., 2012)






                                                                                                       49
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67