Page 60 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 60

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                                                         ผลการศึกษา



                               ท าการศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดิน ทั้งหมด 12 ธาตุ ประกอบด้วยธาตุซิลิคอน

                       (Si)  อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn)  และสังกะสี (Zn)  ในชุดดินที่จัดตั้งในประเทศไทย
                       จ านวน 143 ชุดดิน ครอบคลุม 53 กลุ่มชุดดิน จากจ านวนกลุ่มชุดดินทั้งหมด 62 กลุ่ม (ยกเว้นกลุ่ม

                       ชุดดินที่ 14, 23, 32, 42, 57 และกลุ่มชุดดินที่ 59-62) โดยแบ่งเป็นกลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่
                       น้ าขัง 24 กลุ่มชุดดิน จ านวน 63 ชุดดิน กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนเขตดินแห้ง 20 กลุ่มชุดดินจ านวน 47

                       ชุดดิน และกลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนเขตดินชื้น 9 กลุ่มชุดดิน จ านวน 33 ชุดดิน ผลการศึกษาพบว่า

                       ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย ส่วนใหญ่องค์ประกอบของธาตุรวมจะขึ้นอยู่กับ
                       3 ธาตุหลัก คือ ซิลิคอน อะลูมินัม และเหล็ก ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่อยู่ในกลุ่มแร่อะลูมิโนซิลิเกต

                       ในดิน ส่วนปริมาณธาตุอื่น ๆ จะขึ้นอยู่กับลักษณะของดินแต่ละชนิดเป็นส าคัญ ในกลุ่มดินเปรี้ยวจัด
                       ปริมาณก ามะถัน และอะลูมินัมมีค่าสูงในดินล่าง กลุ่มดินเค็ม ปริมาณโซเดียม แมกนีเซียม สูงกว่าดิน

                       อื่นๆ ในกลุ่มดินที่พบชั้นมาร์ล หรือหินปูน ปริมาณแคลเซียมจะเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดในดินล่าง และ

                       กลุ่มดินอินทรีย์ปริมาณซิลิคอนจะต่ ามาก ปริมาณก ามะถันจะมีค่าสูงในดินล่างซึ่งเป็นตัวชี้บ่งถึง
                       ศักยภาพของดินที่จะกลายเป็นดินเปรี้ยวจัด ซึ่งลักษณะที่พบของธาตุแต่ละธาตุในแต่ละกลุ่มชุดดิน

                       ส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์กับลักษณะของเนื้อดิน และวัตถุต้นก าเนิดดิน

                               การวิเคราะห์องค์ประกอบ (factor  analysis)  และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก
                       (principal component analysis) ในภาพรวมจากจ านวนตัวอย่างดินทั้งหมด 1,004 ตัวอย่าง (ภาพ

                       ที่ 7) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็น
                       ข้อมูลในการจัดกลุ่มดิน ตัวแปร (variable)  คือปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมทั้ง 12 ธาตุที่กล่าวมา

                       ข้างต้น สมบัติทางกายภาพของดิน ได้แก่ เนื้อดิน ประกอบด้วยอนุภาคขนาดทราย (Sand)  อนุภาค

                       ขนาดทรายแป้ง (Silt) และอนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) วัตถุต้นก าเนิดดิน และกลุ่มชุดดิน หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases)  คือ จ านวนตัวอย่างดิน พบว่า เนื้อดินเป็นสมบัติที่ใช้ในการจัดกลุ่มชุดดิน โดย

                       ข้อมูลมีความผันแปร (variation) ร้อยละ 56.47 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1
                       อนุภาคขนาดทราย (sand) จะมีความสัมพันธ์กับซิลิคอน (Si) แคลเซียม (Ca) วัตถุต้นก าเนิดดิน และ

                       กลุ่มชุดดิน กลุ่มที่ 2 อนุภาคขนาดทรายแป้ง (silt) จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับ โพแทสเซียม (K) ก ามะถัน

                       (S) แมกนีเซียม (Mg) และโซเดียม (Na) กลุ่มที่ 3 อนุภาคขนาดดินเหนียว (clay) จะมีความสัมพันธ์
                       กับอะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe) ไทเทเนียม (Ti) แมงกานีส (Mn) ฟอสฟอรัส (P) และสังกะสี (Zn)

                               ทั้งนี้ผลการศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดิน รวมทั้งการวิเคราะห์องค์ประกอบ

                       (factor  analysis)  และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (principal  component  analysis) จะได้
                       อธิบายอย่างละเอียดตามลักษณะเด่นประจ ากลุ่มชุดดินในล าดับต่อไป



                                                                                                       47
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65