Page 177 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 177

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                       3. กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนเขตดินชื้น


                               3.1 กลุ่มดินเหนียว

                               ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ 26 และ 27


                               กลุ่มชุดดินที่ 26 กลุ่มดินเหนียวลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ าหรือวัตถุต้นก าเนิดดินเนื้อ
                       ละเอียด ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก การระบายน้ าดีถึงดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ข้อมูล

                       ปริมาณธาตุองค์ประกอบในดินที่รวบรวมได้ในกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ ชุดดินอ่าวลึก (Ak)  ชุดดินห้วยโป่ง

                       (Hp) ชุดดินกระบี่ (Kbi) ชุดดินโคกกลอย (Koi) ชุดดินล าภูรา (Ll) ชุดดินประทิว (Ptu) ชุดดินภูเก็ต
                       (Pk) ชุดดินปากจั่น (Pac) ชุดดินพังงา (Pga) และชุดดินท้ายเหมือง (Tim) แสดงในตารางที่ 59


                               ซิลิคอน มีค่าอยู่ในพิสัย 246-428 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 351 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ
                       ซิลิคอนในดินบนสูงกว่าดินล่าง โดยชุดดินท้ายเหมืองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินอ่าวลึกมีค่าเฉลี่ย

                       ต่ าสุด

                               อะลูมินัม มีค่าอยู่ในพิสัย 33-157 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 89 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ

                       อะลูมินัมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินอ่าวลึกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินท้ายเหมืองมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               เหล็ก มีค่าอยู่ในพิสัย 5-99 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 33 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่ปริมาณ

                       เหล็กเพิ่มขึ้นในดินล่าง ยกเว้นชุดดินอ่าวลึก โดยชุดดินอ่าวลึกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินห้วยโป่งมี

                       ค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               ไทเทเนียม มีค่าอยู่ในพิสัย 2.4-10.3 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 4.8 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณไทเทเนียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง ยกเว้นชุดดินอ่าวลึก โดยชุดดินอ่าวลึกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดิน
                       ท้ายเหมืองมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด


                               โซเดียม มีค่าอยู่ในพิสัยที่น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ถึง 0.5 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.1
                       กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่ปริมาณโซเดียมมีค่าน้อยมาก โดยชุดดินพังงามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินโคก

                       กลอย ชุดดินล าภูราและชุดดินปากจั่นมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               แมกนีเซียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.1-3.0 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.8 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง  โดยชุดดินปากจั่นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ชุดดินห้วยโป่ง   และชุดดิน
                       ล าภูรามีค่าเฉลี่ยต่ าสุด


                               โพแทสเซียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.4-9.4 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 3.4 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่
                       ปริมาณโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง ยกเว้นชุดดินอ่าวลึก โดยชุดดินพังงามีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดิน

                       อ่าวลึกมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด






                                                                                                      164
   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182