Page 176 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 176

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn)  สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 20 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                 กลุ่มชุดดินที่ 55 (Group 55) ดินลึกปานกลางถึงชั้นหินพื้น เศษหินหรือลูกรัง

                                   ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือเป็นด่าง ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส (Ct) และชุดดินวังสะพุง (Ws)

                                 กลุ่มชุดดินที่ 56 (Group 56) ดินลึกปานกลางถึงชั้นหินพื้น เศษหินหรือลูกรัง
                                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด ได้แก่ ชุดดินลาดหญ้า (Ly) ชุดดินภูสะนา (Ps) และชุดดิน

                                   โพนงาม (Png)

                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม เป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 70.99 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่  24 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 24ก

                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) ซิลิคอน (Si)

                               กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                       อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg)  โซเดียม (Na)

                       โพแทสเซียม (K) ฟอสฟอรัส (P) ก ามะถัน (S) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 24ข ของกลุ่มชุดดินใน

                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้งของกลุ่มดินลึกปานกลาง พบว่า ชุดดินจัตุรัส และชุดดินวังสะพุง ซึ่งเป็น
                       ดินในกลุ่มชุดดินที่ 55 เป็นดินที่มีปริมาณแมงกานีส เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ท าให้ดินนี้แยกออกจาก

                       ชุดดินอื่น ในขณะที่ ชุดดินภูสะนา เป็นดินที่มีค่าก ามะถันสูงท าให้ดินนี้แยกออกมาจากชุดดินอื่นอย่าง

                       ชัดเจน


















                                                                                                      163
   171   172   173   174   175   176   177   178   179   180   181