Page 150 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 150

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn)  สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                            กลุ่มชุดดินที่ 40 (Group 40) ดินร่วนหยาบลึกมาก ได้แก่ ชุดดินชุมพวง (Cpg), ชุดดินสันป่า

                              ตอง (Sp) และชุดดินหุบกะพง (Hg)

                              วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor analysis และ Principal component analysis เพื่อศึกษา

                       พฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ  70  ของความผันแปร  (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการ

                       อธิบายสองปัจจัยดังแสดงในภาพที่  20 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 20ก

                               กลุ่มที่ 1  ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                       ซิลิคอน (Si) ไทเทเนียม (Ti) และก ามะถัน (S)

                               กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe) แมงกานีส

                       (Mn) แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg) โซเดียม (Na) โพแทสเซียม  (K) ฟอสฟอรัส (P) และสังกะสี
                       (Zn)

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 20ข ของกลุ่มชุดดินใน
                       พื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง  ของกลุ่มดินร่วนหยาบ  มีการสะสมอนุภาคขนาดดินเหนียวในดินล่าง

                       อย่างชัดเจน เนื่องจากดินเป็นดินปนทราย น้ าที่เคลื่อนที่ผ่านหน้าตัดดินท าให้อนุภาคขนาดดินเหนียว

                       เคลื่อนที่มาสะสมในดินล่าง (ชุดดินชุมพวง และชุดดินสันป่าตอง) (Ibrahim and Burras, 2012)

                               ส าหรับชุดดินหุบกระพงเป็นดินที่มีเนื้อหยาบกว่าชุดดินชุมพวง และชุดดินสันป่าตอง และ

                       ไม่มีการสะสมอนุภาคขนาดดินเหนียวในดินล่าง อีกทั้งมีธาตุโพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง เนื่องจาก
                       ดินนี้ เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดที่มีเนื้อหยาบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ธาตุอาหารที่พบในปริมาณสูงใน

                       ดินนี้น่าจะเป็นผลมาจากการจัดการดิน (เอิบ, 2533)















                                                                                                      137
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155