Page 146 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 146

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 60 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                กลุ่มชุดดินที่ 35 (Group 35) ดินร่วนละเอียดลึกถึงลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก

                                  ได้แก่ ชุดดินดอนไร่ (Dr) ชุดดินด่านซ้าย (Ds) ชุดดินโคราช (Kt) ชุดดินมาบบอน (Mb)
                                  ชุดดินสตึก (Suk) ชุดดินวาริน (Wn) ชุดดินห้างฉัตร (Hc) และ ชุดดินยโสธร (Yt)

                                กลุ่มชุดดินที่ 36 (Group 36) ดินร่วนละเอียดลึกถึงลึกมาก ปฏิกิริยาดินเป็นกลางหรือ

                                  เป็นด่าง ได้แก่ ชุดดินปราณบุรี (Pr) และ ชุดดินสีคิ้ว (Si)

                              วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor analysis และ Principal component analysis เพื่อศึกษา

                       พฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูลหลักใน
                       การจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ 64.91 ของความผันแปร (Variation) ของข้อมูล ใช้ปัจจัยในการอธิบาย

                       สองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 19 ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสองกลุ่มเครือสหาย (Affinity groups)

                       ภาพที่ 19ก

                               กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) และซิลิคอน (Si)

                               กลุ่มที่ 2  ประกอบด้วย  อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay)  อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                       อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg) โซเดียม (Na)

                       โพแทสเซียม (K) ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P) ไทเทเนียม (Ti) และสังกะสี (Zn)

                                  เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 19ข ของกลุ่มชุดดิน

                       ในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง ของกลุ่มดินร่วนละเอียด มีวัตถุต้นก าเนิดดินเนื้อหยาบ พบว่า ดินใน
                       กลุ่มชุดดินที่ 36 ถูกควบคุมด้วยอนุภาคขนาดทรายแป้งเป็นหลัก ในขณะที่ดินในกลุ่มชุดดินที่ 35 ถูก

                       ควบคุมด้วยอนุภาคขนาดดินเหนียว และอนุภาคขนาดทราย โดยกลุ่มชุดดินที่ 35 มีเนื้อดินที่หยาบ

                       กว่าดินในกลุ่มชุดดินที่ 36 ส าหรับชุดดินปราณบุรีเป็นชุดดินที่มีธาตุแมงกานีส และฟอสฟอรัสสูง ท า
                       ให้ชุดปราณบุรีแยกออกมาจากชุดดินอื่น
















                                                                                                      133
   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151