Page 112 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 112

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               ตัวแปร (Variable) ประกอบด้วย ผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวม ศึกษาด้วย

                       วิธี X-ray  fluorescence  spectrophotometry  (XRF)  ประกอบด้วยธาตุ 12  ธาตุ ได้แก่ ซิลิคอน
                       (Si) อะลูมินัม (Al) เหล็ก (Fe)  ไทเทเนียม (Ti)  โซเดียม (Na)  แมกนีเซียม (Mg)  โพแทสเซียม (K)

                       แคลเซียม (Ca)  ก ามะถัน (S) ฟอสฟอรัส (P)  แมงกานีส (Mn) และสังกะสี (Zn) สมบัติทางกายภาพ

                       ประกอบด้วย ปริมาณของอนุภาคขนาดทราย (Sand) ทรายแป้ง (Silt) และดินเหนียว (Clay) หน่วย
                       วิเคราะห์ (Cases) คือ ตัวอย่างดิน จ านวนทั้งสิ้น 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วย

                                 กลุ่มชุดดินที่ 19 (Group 19) ดินร่วนหยาบที่เกิดจากตะกอนล าน้ า มีชั้นแน่นทึบ

                                   ภายในความลึก 100 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินวิเชียรบุรี (Wb)

                                 กลุ่มชุดดินที่ 21 (Group 21) ดินร่วนหยาบลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ าในส่วนต่ า
                                   ของพื้นที่ริมแม่น้ า ได้แก่ ชุดดินเพชรบุรี (Pb)

                                 กลุ่มชุดดินที่ 22 (Group 22) ดินร่วนหยาบลึกมากที่เกิดจากตะกอนล าน้ าเนื้อหยาบ

                                   ได้แก่ ชุดดินสันทราย (Sai)


                               วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Factor  analysis  และ  Principal  component  analysis  เพื่อ

                       ศึกษาพฤติกรรมของตัวอย่างดินโดยอาศัยผลการวิเคราะห์ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมเป็นข้อมูล
                       หลักในการจัดกลุ่มดิน โดยร้อยละ  79.70  ของความผันแปร  (Variation) ของข้อมูล จากภาพที่ 13

                       แสดงให้เห็นว่าชุดดินต่าง ๆ ในกลุ่มชุดดินนี้มีความแปรปรวนมากในแง่ของปริมาณรวมของธาตุ
                       เนื่องจากพฤติกรรมของตัวอย่างดินนั้นมีค่าความผันแปรมากเกือบร้อยละ 80 ใช้ปัจจัยในการอธิบาย

                       สองปัจจัยดังแสดงในภาพที่ 13  ข้อมูลของตัวแปรแบ่งออกเป็นสามกลุ่มเครือสหาย (Affinity

                       groups) ภาพที่ 13ก ประกอบด้วย

                                 กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดทราย (Sand) และซิลิคอน (Si)


                                 กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วย อนุภาคขนาดดินเหนียว (Clay) อนุภาคขนาดทรายแป้ง (Silt)

                                   อะลูมินัม (Al)  เหล็ก (Fe)  แมงกานีส (Mn)  แคลเซียม (Ca)  แมกนีเซียม  (Mg)
                                   โพแทสเซียม (K) โซเดียม (Na) ไทเทเนียม (Ti) และ สังกะสี (Zn)


                                 กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วย ฟอสฟอรัส (P) และก ามะถัน (S)

                               จากการจัดกลุ่มของเครือสหายจะเห็นได้ว่ากลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ าขัง  ของกลุ่ม

                       ดินร่วนหยาบ พฤติกรรมของดินในกลุ่มนี้ถูกควบคุมด้วยปัจจัยเนื้อดินเป็นหลัก ภาพที่ 13ก

                               เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของหน่วยวิเคราะห์ (Cases) ภาพที่ 13ข พบว่าชุดดินเพชรบุรี

                       เป็นชุดดินที่มีเนื้อละเอียดกว่าชุดดินอื่นในกลุ่มชุดดินเดียวกัน ส าหรับดินเพชรบุรีนี้เป็นดินที่มีอนุภาค

                       ขนาดดินเหนียว แมงกานีส และสังกะสี ในปริมาณมาก ท าให้ชุดดินนี้แยกออกมาจากชุดดินอื่น ๆ ใน
                       กลุ่มเดียวกัน


                                                                                                       99
   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117