Page 101 - ปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมในดินของประเทศไทย
P. 101

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน





                               1.6 กลุ่มดินร่วนละเอียด

                               ประกอบด้วยกลุ่มชุดดินที่ 17 และ 18


                               กลุ่มชุดดินที่ 17 มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน ดินชั้นล่างเป็นดินร่วนปนดิน
                       เหนียวหรือดินร่วนเหนียวสีน้ าตาลอ่อนถึงสีเทา พบจุดประสีน้ าตาล สีเหลืองหรือสีแดงปนเหลือง บาง

                       พื้นที่จะพบศิลาแลงอ่อนหรือก้อนเหล็กและแมงกานีสสะสมกันในชั้นดินล่างนี้ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด

                       มาก การระบายน้ าเลวถึงค่อนข้างเลว ความอุดมสมบูรณ์ต่ า ข้อมูลปริมาณธาตุองค์ประกอบรวมที่
                       รวบรวมได้ในกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ ชุดดินร้อยเอ็ด (Re) ชุดดินเรณู (Rn) ชุดดินวิสัย (Vi) และชุดดินสุไหง

                       ปาดี (Pi) แสดงในตารางที่ 30

                               ซิลิคอน มีค่าอยู่ในพิสัย 336-447 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 413 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ

                       ซิลิคอนในดินบนสูงกว่าดินล่าง โดยชุดเรณูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินสุไหงปาดีมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               อะลูมินัม มีค่าอยู่ในพิสัย 15-111 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 42 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ

                       อะลูมินัมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินสุไหงปาดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินร้อยเอ็ดมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               เหล็ก มีค่าอยู่ในพิสัย 3-18 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 10 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณเหล็กเพิ่มขึ้น

                       ในดินล่าง โดยชุดดินสุไหงปาดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินวิสัยมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               ไทเทเนียม มีค่าอยู่ในพิสัย 2.0-3.4 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 2.7 กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณ

                       ไทเทเนียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินสุไหงปาดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินร้อยเอ็ดมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               โซเดียม มีค่าอยู่ในพิสัยที่น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ถึง 2.2 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.6

                       กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่ปริมาณโซเดียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง ยกเว้นชุดดินสุไหงปาดี โดยชุดดินร้อยเอ็ด
                       มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดินเรณูมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด


                               แมกนีเซียม มีค่าอยู่ในพิสัยที่น้อยมากจนไม่สามารถวัดได้ถึง 2.1 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.9
                       กรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแมกนีเซียมเพิ่มขึ้นในดินล่าง โดยชุดดินร้อยเอ็ดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด และชุดดิน

                       เรณูมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               โพแทสเซียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.8-35.1 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 10.3 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วน

                       ใหญ่ปริมาณโพแทสเซียมเพิ่มขึ้นดินล่าง ยกเว้นชุดดินสุไหงปาดี โดยชุดดินสุไหงปาดีมีค่าเฉลี่ยสูงสุด

                       และชุดดินร้อยเอ็ดมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด

                               แคลเซียม มีค่าอยู่ในพิสัย 0.1-2.6 กรัมต่อกิโลกรัม เฉลี่ย 0.6 กรัมต่อกิโลกรัม ส่วนใหญ่

                       ปริมาณแคลเซียมในแต่ละชุดดินมีค่าไม่แตกต่างกันในดินบนและดินล่าง ยกเว้นชุดดินร้อยเอ็ด โดยชุด
                       ดินร้อยเอ็ดมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ชุดดินเรณูและชุดดินวิสัยมีค่าเฉลี่ยต่ าสุด







                                                                                                       88
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106