Page 35 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว
P. 35
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-20
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เนื้อดินเหนียวจัด การไถพรวนต้องทําในช่วง
ที่ดินมีความชื้นพอเหมาะมิฉะนั้นจะทําให้ดินแน่นทึบ ในช่วงฤดูแล้งดินมีการหดตัวทําให้
ดินแตกระแหงเป็นร่องลึก ส่วนในฤดูฝนจะมีนํ้าแช่ขังง่าย ทําให้พืชชะงักการเจริญเติบโต
กลุ่มชุดดินที่ 29
กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับ
ที่ หรือเคลื่อนย้ายมาทับถมจากวัสดุหลายชนิดที่มีเนื้อละเอียดหรือจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอน
ลํานํ้า สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเป็นเนินเขา การระบายนํ้าดี เป็นดินเหนียวลึกมาก
บางแห่งลึกปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตํ่าในช่วง
ฤดูเพาะปลูกพืชอาจขาดนํ้าได้หากฝนทิ้งช่วงไปเป็นเวลานาน ส่วนในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมี
ปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
กลุ่มชุดดินที่ 30
กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับ
ที่ หรือจากการสลายตัวผุพังของวัตถุต้นกําเนิดดินพวกหินเนื้อละเอียด พบบริเวณพื้นที่ภูเขาสูงมีความ
สูง จากระดับนํ้าทะเลปานกลางตั้งแต่ 500 เมตรขึ้นไป สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึง
เนินเขา การระบายนํ้าดี เป็นดินเหนียวลึกมาก บางแห่งลึกปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม
ธรรมชาติปานกลาง
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ เป็นดินที่เกิดอยู่บริเวณที่มีระดับความสูงมากมี
ความลาดชันสูง มีแนวโน้มที่จะเกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย
กลุ่มชุดดินที่ 31
กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการสลายตัวผุพังอยู่กับ
ที่ หรือเคลื่อนย้ายมาทับถมจากวัสดุหลายชนิดที่มีเนื้อละเอียด สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้าง
ราบเรียบถึงเป็นเนินเขา มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปาน
กลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ บริเวณที่มีความลาดชันจะมีปัญหาเกี่ยวกับการ
ชะล้างพังทลายของหน้าดิน และดินมีโอกาสขาดแคลนนํ้าในช่วงฤดูเพาะปลูก
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน