Page 30 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว
P. 30
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-15
ไถลในดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียว
จัด ดินบนมีสีดําหรือสีเทาเข้ม ส่วนดินชั้นล่างสีเทา พบจุดประสีนํ้าตาล สีเหลือง และสีแดงปะปนอยู่
เป็นจํานวนมาก ในดินชั้นล่างตอนบน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของจาโรไซต์ ในระดับความลึก
ระหว่าง 50-150 เซนติเมตร
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรงมาก อาจขาดธาตุอาหารพืชพวก
ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส หรือมีสารละลายพวกอะลูมินั่มและเหล็กเป็นปริมาณมากเกินไปจนเป็นพิษ
ต่อพืชที่ปลูก
กลุ่มชุดดินที่ 12
กลุ่มชุดดินนี้ที่มีตะกอนเป็นดินเหนียวหรือหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ ง มีการระบายนํ้า
เลว ดินลึก ที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนนํ้าทะเล ในบริเวณที่ราบนํ้าทะเลท่วมถึงและ
บริเวณชะวากทะเล สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินเลนเละ พบเศษรากพืชปะปน
ในดินเป็นจํานวนมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเลนที่มีโครงสร้างเลว และเป็นดินเค็มไม่
เหมาะที่จะนํามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร นอกจากนั้นบริเวณดังกล่าวยังคงมีนํ้าทะเลท่วมถึงเป็น
ประจําในช่วงนํ้าทะเลขึ้น
กลุ่มชุดดินที่ 13
กลุ่มชุดดินนี้ที่มีตะกอนเป็นดินเหนียวหรือหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ ง มีการระบายนํ้า
เลว ดินลึก ที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนนํ้าทะเล ในบริเวณที่ราบนํ้าทะเลท่วมถึงและ
บริเวณชะวากทะเล เป็นดินที่มีสารประกอบกํามะถันปะปนอยู่มาก ตามปกติเมื่อเปียกดินจะเป็นกลาง
หรือเป็นด่างแต่เมื่อมีการระบายนํ้าออกไปหรือทําให้ดินแห้งสารประกอบกํามะถันจะแปรสภาพปล่อย
กรดกํามะถันออกมา ทําให้ดินเป็นกรดจัดมาก การจัดการที่ดินจึงยุ่งยากขึ้นเป็นทวีคูณดินกลุ่มนี้
จัดเป็นดินเค็มที่มีกรดแฝงอยู่ สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม
ธรรมชาติสูง
ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ดินเลนเค็มที่มีนํ้าทะเลท่วมถึงเป็นประจํา
มีศักยภาพก่อให้เกิดดินกรดกํามะถัน เกิดก๊าซพิษไข่เน่า และก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช
ความสามารถในการทรงตัวของต้นพืชตํ่ามาก หักล้มง่าย เมื่อดินแห้งจะแปรสภาพเป็นดินกรดกํามะถัน
และเค็ม
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน