Page 36 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-21






                           กลุ่มชุดดินที่ 32

                           กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นดินพวกทรายแป้ งละเอียด หรือดินร่วน เป็นดินลึกปานกลางถึง

                  ลึกมาก  เกิดจากการทับถมของตะกอนแม่นํ้าบริเวณสันดินริมนํ้าบางแห่งอาจมีชั้นดินทรายละเอียด

                  สลับอยู่ และมักมีแร่ไมกาปะปนในเนื้อดินพบในพื้นที่ฝนตกชุก เช่นภาคใต้   มีสภาพพื้นที่เป็นที่
                  ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย การระบายนํ้าดีปานกลาง ดินมีความอุดม

                  สมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                           ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม       ได้แก่ เสี่ยงต่อการขาดนํ้า  บางพื้นที่อาจมี
                  นํ้าไหลบ่าท่วมขังฉับพลันในระยะที่มีฝนตกหนัก


                           กลุ่มชุดดินที่ 33

                           กลุ่มชุดดินนี้ มีเนื้อดินเป็นดินพวกทรายแป้ งละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากตะกอนแม่นํ้า  พบ
                  บนเนินตะกอนรูปพัด หรือที่ราบตะกอนนํ้าพา มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ ถึง

                  ลูกคลื่นลอนลาด การระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง เป็นดินลึกปานกลางถึงลึกมาก  บางแห่งทําคันดิน เพื่อ

                  กักเก็บนํ้าสําหรับทํานา ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง

                      ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่ เสี่ยงต่อการขาดนํ้า  ในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน  บาง

                  พื้นที่อาจพบชั้นดานแข็งที่เกิดจากการเขตกรรม


                           กลุ่มชุดดินที่ 34
                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียด ปนทราย ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิด

                  ดินพวกตะกอนลํานํ้า  หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่  หรือถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อ

                  หยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหินอัคนีหรือหินตะกอน พบบริเวณพื้นที่ดิน ในเขตฝนตกชุก เช่นภาคใต้
                  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน มีการระบายนํ้าดีถึงดีปานกลาง  ดินมี

                  ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า

                      ปัญหาในการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม  ได้แก่  เนื้อดินค่อนข้างเป็นทรายและดินมีความอุดม
                  สมบูรณ์ตํ่า ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับชะล้างพังทลายของหน้าดิน

                           กลุ่มชุดดินที่ 35

                           กลุ่มชุดดินนี้มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวก
                  ตะกอนลํานํ้า หรือจากการสลายตัวผุพังอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วน

                  ใหญ่มาจากหินตะกอน  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา มีการระบายนํ้าดีถึงดี

                  ปานกลาง อาจพบลูกรังในช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม

                  ธรรมชาติตํ่า





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41