Page 42 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          29


                           4.7 ทรัพยากรดิน
                                กรมพัฒนาที่ดินจัดทําแผนที่กลุ่มชุดดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจทั้งประเทศ โดยได้

                     พิจารณาการจัดหมวดหมู่ลักษณะและสมบัติดินที่มีศักยภาพคล้ายคลึงกันในด้านที่มีผลต่อการ
                     เจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก จัดหมวดหมู่กลุ่มชุดดินไว้ 62 กลุ่ม ตามสภาพพื้นที่พบได้ 4
                     กลุ่มใหญ่ (สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548) ดังนี้

                                      1) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่น้ําขัง ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 1-25 กลุ่มชุดดิน 57 และ

                     กลุ่มชุดดิน 59 จัดเป็นกลุ่มชุดดินที่พบในพื้นที่ลุ่ม การระบายน้ําของดินไม่ดี มีน้ําแช่ขังในฤดูฝน ดินมีสีเทา
                     หรือสีน้ําตาลปนเทา มีจุดประสีน้ําตาล สีเหลือง สีแดง ส่วนใหญ่เหมาะสําหรับทํานา ไม่เหมาะสําหรับ
                     เพาะปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น
                                      2) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินแห้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 28 29 30 31 33 35

                     36 37 38 40 41 44 46 47 48 49 52 54 55 56 60 และกลุ่มชุดดิน 61
                                      3) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ดอนที่อยู่ในเขตดินชื้น ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 26 27 32 34 39 42
                     43 45 50 51 และกลุ่มชุดดิน 53
                                      4) กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ กลุ่มชุดดิน 62

                                โดยกลุ่มชุดดินที่ 26-56 และ 60-62 จัดเป็นกลุ่มชุดินที่พบบนพื้นที่ดอน การระบายน้ําดี

                     สีน้ําตาล สีเหลือง สีแดง มีทั้งดินตื้นและดินลึก ส่วนใหญ่เหมาะสมสําหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผลและไม้ยืนต้น

                                จากการวิเคราะห์ทรัพยากรดินในพื้นที่บริเวณจังหวัดนครราชสีมา ระดับกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน
                     1:25,000 (สํานักสํารวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน, 2557) พบว่า ประกอบด้วย 32 กลุ่มชุดดิน ดังรายละเอียด
                     ของลักษณะดินที่แสดงในภาคผนวกที่ 1 มีเนื้อที่ 12,289,796 ไร่ หรือร้อยละ 95.95 ของพื้นที่จังหวัด และ

                     เป็นพื้นที่เบ็ดเตล็ด 6 ประเภท มีเนื้อที่ 518,932 ไร่ หรือร้อยละ 4.05 ของพื้นที่จังหวัด สําหรับหน่วยแผนที่
                     ทั้งหมดที่แสดงไว้ในภาคแผนที่มี 129 หน่วย แบ่งออกเป็นกลุ่มดินเดี่ยว 83 หน่วย กลุ่มดินสัมพันธ์ 40 หน่วย
                     และหน่วยดินเบ็ดเตล็ด 6 หน่วย รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 5 และภาพที่ 6

                     ตารางที่ 5 กลุ่มชุดดินที่พบในจังหวัดนครราชสีมา

                        หน่วย                                                                  เนื้อที่

                        แผนที่                         คําอธิบาย                            ไร่      ร้อยละ
                          1      กลุ่มชุดดินที่ 1 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์              90,824     0.709
                          4      กลุ่มชุดดินที่ 4 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์            284,539      2.221

                          7      กลุ่มชุดดินที่ 7 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์            475,931      3.716
                         7hi     กลุ่มชุดดินที่ 7hi มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ พบในสภาพ  130,189     1.016
                                 พื้นที่ค่อนข้างดอน

                         15      กลุ่มชุดดินที่ 15 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์           199,231      1.555
                         17      กลุ่มชุดดินที่ 17 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์             98,723     0.771
                         18      กลุ่มชุดดินที่ 18 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์           382,986      2.990

                         19      กลุ่มชุดดินที่ 19 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์              4,184     0.033
                         20      กลุ่มชุดดินที่ 20 มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์          1,239,795     9.679
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47