Page 35 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 35

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          24


                     ควอตซ์ เชิร์ต แอสเปอร์ และหินอัคนี หมวดหินภูพานกระจายตัวเป็นแนวขนานไปกับหมวดหินเสาขัวตาม

                     แนวของขอบที่ราบสูงโคราชในเขตอําเภอสีคิ้ว ปักธงชัย ครบุรี และเสิงสาง เป็นต้น
                                         (9) หมวดหินเสาขัว (Ksk) ประกอบด้วย หินทรายแป้ง และหินทราย สีน้ําตาลแดง

                     ม่วงแดง และแดง มี Calcrete  มาก Silcrete  ข้างในแนวราบ (แนวขวาง) กระจายตัวเป็นแนวในจังหวัด
                     นครราชสีมา ได้แก่ ทางตะวันตกของอําเภอเทพารักษ์ ด่านขุนทด สีคิ้ว ปักธงชัย วังน้ําเขียว ครบุรี และเสิงสาง

                     เป็นต้น
                                      3) ตะกอน (sediments) เป็นตะกอนกรวด ทราย ทรายแป้ง และดิน สะสมตัวจาก
                     ทางน้ํา บริเวณที่ลุ่มน้ําท่วมถึง เช่น ลํามูล ลําตะคอง ลําปลายมาศ เป็นต้น เป็นบริเวณที่มีการตั้งบ้านเรือน
                     การเพาะปลูก และการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ํา รวมทั้งเป็นแหล่งทราย แหล่งกรวด และแหล่งดินสีเหลือง
                     อมส้มชั้นบน

                                         ตะกอนที่อยู่ในยุคควอเทอร์นารี (Quaternary) ได้แก่

                                         (1) ตะกอนน้ําพา (Qa) ประกอบด้วย กรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวสะสม
                     ตัวตามร่องน้ํา คันดินแม่น้ําและแอ่งน้ําท่วมถึง


                                         (2) ตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุอยู่กับที่ (Qc) ประกอบด้วย กรวด ทราย
                     ทรายแป้ง ศิลาแลง และเศษหิน

                                         (3) ตะกอนตะพักลําน้ํา (Qt) ประกอบด้วย กรวด ทราย ทรายแป้ง ดินเหนียว และศิลาแลง
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40