Page 34 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          23


                                         (3) ตะกอนในยุคควอเทอร์นารี (Qbs) ประกอบด้วย หินแอลคาไลน์โอลิวีนบะซอลต์
                     ที่ให้แร่พลอย ฮาวายไอต์ มูเออร์ไรต์ หินเนฟิลีนไนต์ที่ให้พลอย หินบาซาไนต์และหินเนิฟลีนฮาวายไอต์

                                      2) หินชั้นและหินแปร (sedimentary and metamorphic rocks) ได้แก่


                                         หินที่อยู่ในยุคเพอร์เมียน (Permian) ได้แก่
                                         (1) หมวดหินซับบอนหินในยุคเพอร์เมียนมีอายุระหว่าง 290-250 ล้านปี (Ps)

                     ประกอบด้วย หินปูนฟอสซิลลิเฟอรัส หินเชิร์ต หินบะซอลต์รูปหมอน หินอุลตร้าเบสิก และหินเซอร์เพนทิไนต์

                                         (2) หมวดหินซับบอนหินในยุคเพอร์เมียนมีอายุระหว่าง 290-270 ล้านปี (Ps-1)
                     ประกอบด้วย หินปูน หินเชิร์ต หินดินดาน หินทราย หินทรายเนื้อภูเขาไฟและหินภูเขาไฟ

                                         หินที่อยู่ในยุคไทรแอสซิก (Triassic) ได้แก่

                                         (3) หมวดหินห้วยหินลาด (Trhl) ประกอบด้วย หินกรวดมน และหินกรวดมนภูเขาไฟ
                     ดินดาน หินโคลน หินทรายแป้ง สีเทา น้ําตาล น้ําตาลเหลือง หินทรายเกร์ยแวก หินปูนเนื้อดิน และดินมาร์ล

                     มีซากใบไม้ ปรากฏเป็นแนวเล็กๆ ตามขอบที่ราบสูงโคราชทางตอนใต้ เช่น ทางทิศใต้ของอําเภอสีคิ้ว เป็นต้น

                                         หินที่อยู่ในยุคจูแรสซิก (Jurassic) ได้แก่
                                         (4) หมวดหินพระวิหาร (JKpw) ประกอบด้วย หินทรายเนื้อควอตซ์ สีขาว ชมพู

                     และเทา แสดงการวางชั้นเฉียงระดับขนาดใหญ่ ชั้นหนา แทรกสลับด้วยหินทรายปนกรวดบ้าง แสดง
                     ลักษณะเป็นชั้นบางๆ ของหินทรายแป้งสีแดง หินเคลย์ วางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้

                     พาดผ่านอําเภอสีคิ้ว ปากช่อง วังน้ําเขียว และเสิงสาง
                                         (5) หมวดหินภูกระดึง (Jpk) ประกอบด้วย หินทรายแป้ง สีม่วง และสีม่วงแดง เนื้อปูน

                     ผสม และเนื้อไมก้า หินทราย สีเทาเขียว น้ําตาลเหลือง และหินกรวดมนมี Calcrete  ตามแนวราบ (แนวขวาง)
                     หินหมวดนี้พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดนครราชสีมา บริเวณตะวันออกของอําเภอปักธงชัย และทาง
                     ตอนใต้ของอําเภอวังน้ําเขียว

                                         หินที่อยู่ในยุคครีเทเชียส (Cretaceous) ได้แก่

                                         (6) หมวดหินมหาสารคาม (KTms) ประกอบด้วย หินทรายแป้ง สีน้ําตาลแดง แดง
                     หินเคลย์ และหินทราย มักพบเกลือหิน โปรแตส ยิปซั่ม และแอนไฮไดรก์แทรก หมวดหินมหาสารคาม

                     ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 1  ใน 3  ของจังหวัดนครราชสีมา ทางตอนเหนือ เช่น อําเภอเมือง อําเภอพิมาย
                     อําเภอโคกสูง เป็นต้น

                                         (7) หมวดหินโคกกรวด (Kkk) ประกอบด้วย หินทรายแป้ง หินทราย สีน้ําตาลแดง
                     และแดง เนื้อปูนผสม หินเคลย์ และหินกรวดมน มี Calcrete  ตามแนวราบ (แนวขวาง) หมวดหินโคกกรวด

                     คลุมพื้นที่เป็นแนวขนานไปกับหมวดหินภูพานทางตอนเหนือ ผ่านอําเภอเทพารักษ์ ด่านขุนทด สีคิ้ว สูงเนิน
                     ปักธงชัย และครบุรี หินทรายในหมวดหินโคกกรวดสามารถพบเห็นฟอสซิลเศษชิ้นส่วนของกระดูกไดโนเสาร์
                     ฝังในเนื้อหินได้

                                         (8) หมวดหินภูพาน (Kpp) ประกอบด้วยหินทราย สีเทา เทาเขียว น้ําตาล มักพบ
                     เม็ดกรวด และการวางชั้นเฉียงระดับ ชั้นหนา หินทรายแป้ง และหินทรายมีกรวดปนประกอบด้วยกรวดของ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39