Page 33 - แนวทางการประเมินกำลังผลิตของดินสำหรับปลูกมันสำปะหลังจังหวัดนครราชสีมา
P. 33

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                          22


                           4.4 ลักษณะภูมิประเทศ

                                พื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาครอบคลุมพื้นที่รอยต่อทางตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช
                     (Khorat plateau) กับบริเวณขอบแอ่งภาคกลางด้านตะวันออก ซึ่งเป็นรอยต่อช่วงเวลาของมหายุคทางธรณีวิทยา

                     ระหว่างแผ่นดินดึกดําบรรพ์ 2 แผ่น อันได้แก่ แผ่นจุลทวีปฐานธรณีชาน-ไทย (Shan-Thai microcontinent) ที่อยู่
                     ทางด้านตะวันตก กับแผ่นฐานธรณีอินโดไชน่า (Indochina microcontinent) ทางด้านตะวันออก ที่เคลื่อนเข้ามา
                     เชื่อมต่อกันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ – พังเหย – ดงพญาเย็น และผ่านกระบวนการวิวัฒนาการของพื้นที่มา

                     ยาวนาน กว่า 210 ล้านปี จนกลายเป็นสภาพภูมิประทศและภูมิสัณฐานแบบต่างๆ ในปัจจุบันของพื้นที่ราบสูง
                     โคราช ที่อยู่สูงกว่าทะเลปานกลางมากกว่า 100  เมตร ประกอบไปด้วยพื้นที่ภูเขา เนินลาด และที่ราบลุ่มน้ํา
                     (กรมทรัพยากรธรณี, 2555) ตามลําดับ

                                      1) พื้นที่ภูเขา (mountainous) เป็นภูเขาสลับซับซ้อนและที่ราบสลับหุบเขาแคบๆ ทอด
                     เป็นแนวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ – ตะวันออกเฉียงใต้ และแนวตะวันตก - ตะวันออก ต่อเนื่องลงมาตามแนว

                     ของเทือกเขาเพชรบูรณ์ - ดงพญาเย็น พื้นที่ภูเขามีความสูงตั้งแต่ 300  เมตรจนถึงมากกว่า 750  เมตรจาก
                     ระดับทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ทางทิศใต้และทางตะวันตกของจังหวัดนครราชสีมา เขตอําเภอด่านขุนทด
                     ปากช่อง วังน้ําเขียว ครบุรี และเสิงสาง โดยเป็นเขตป่าไม้ และแหล่งต้นน้ํา เช่น ลําตะคอง และลําน้ํามูล ภูเขา
                     สูงที่สุดอยู่ในแนวดงพญาเย็น บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ได้แก่ ยอดเขาโป่งฉนวน ซึ่งสูง 1,326  เมตร

                     ภูเขาอื่น เช่น เขาใหญ่ เขากระโดน เขาสามยอด เขาซับมืด เขายายเที่ยง เป็นต้น

                                      2) พื้นที่เนินลาด (slope and undulating terrain) เป็นพื้นที่ราบคล้ายเนินระนาดสลับ
                     ที่ราบลุ่มและที่ราบรอบๆ ลาดเชิงเขา และที่เนินลาดทั่วไป ทั้งโคก เนินระดับสูงและต่ํา ความสูงประมาณ
                     160-300  เมตรจากระดับทะเลปานกลาง พื้นที่มักเป็นป่าโปร่ง สลับกับทุ่งหญ้าสะวันนา ครอบคลุมพื้นที่ทาง
                     ตอนกลางและตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด คิดเป็นพื้นที่ประมาณมากกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ ในเขตอําเภอ

                     ด่านขุนทด ขามทะเลสอ สีคิ้ว สูงเนิน ปักธงชัย โชคชัย หนองบุนนาก ห้วยแถลง จักราช พิมาย โนนสูง ขาม
                     สะแกแสง บ้านเหลื่อม บัวใหญ่ แก้งสนามนาง และบัวลาย

                                      3) พื้นที่ราบลุ่ม (fluvial  plain) เป็นพื้นที่ราบเรียบและราบลุ่ม มีน้ําท่วมถึง ความสูง
                     ของพื้นที่ต่ํากว่า 160  เมตรจากระดับทะเลปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด
                     นครราชสีมา ตามพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ํามูล เขตอําเภอโนนแดง ชุมพวง ประทาย และเมืองยาง

                           4.5 ธรณีวิทยา

                                จากข้อมูลแผนที่ธรณีวิทยาจังหวัดนครราชสีมามาตราส่วน 1 : 250,000 (สํานักธรณีวิทยา, 2550)

                     พบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยา แสดงถึงลักษณะของหินในจังหวัดนครราชสีมา (ภาพที่ 4) ประกอบด้วย

                                      1) หินอัคนี (igneous rock) ในจังหวัดนครราชสีมาพบโผล่ทางด้านอําเภอปากช่อง และ
                     วังน้ําเขียวมีทั้งหินอัคนีแทรกซอน และหินภูเขาไฟ ดังนี้

                                         (1) หินภูเขาไฟแยกประเภทไม่ได้ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (PTrv) ประกอบด้วย
                     หินไรโอไลต์ แอนดีไซต์ หินทัฟฟ์แสดงการไหล หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ หินไรโอลิติกทัฟฟ์ และหินแอนดิติกทัฟฟ์

                                         (2) หมวดหินแกรนิตที่พบในยุคไทรแอสซิก (Trgr) ประกอบด้วย หินไบโอไทต์แกรนิต
                     ทัวมารีนแกรนิต แกรโนไดโอไรต์ ไบโอไทต์มัสโคไวต์แกรนิต และมัสโคไวต์ทัวมารีนแกรนิต
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38