Page 75 - การใช้ประโยชน์ของชุดตรวจดินภาคสนามสำหรับการจัดการปุ๋ยเพื่อการปลูกพืชผักในจังหวัดลำพูน
P. 75

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       62







                                     4) การสะสมธาตุอาหารในผลผลิตตัดแต่ง
                                       ในด้านของการสะสมธาตุอาหาร ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส  และ โพแทสเซียม ใน
                       ผลผลิต พบว่า เมื่อมีการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี หอมแบ่งมีการสะสม ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส       และ
                       โพแทสเซียม มีค่า 7.85, 1.24 และ 8.75 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ โดยสะสมไนโตรเจนในต ารับ

                       การทดลองที่ 1 มีค่าต่ าที่สุด โดยมีความแตกต่างกันทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับต ารับการทดลอง
                       ที่ 4 และ 6 ที่มีค่า 9.79  และ 10.28  กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
                       เมื่อเปรียบเทียบกับต ารับการทดลองที 2, 3 และ 5 ที่มีค่า 9.00, 9.16  และ 8.29  กิโลกรัมต่อไร่
                       ส าหรับการสะสม ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ก็ไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน เมื่อมีการใส่ปุ๋ยเคมีแต่ละ

                       อัตรา โดยการสะสมฟอสฟอรัส อยู่ในช่วง 1.32-1.42 กิโลกรัมต่อไร่ และการสะสมโพแทสเซียม
                       อยู่ในช่วง  7.78  -10.43  กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใส่ปุ๋ยเคมี (P<0.05) (ตารางที่
                       33) หากถือว่าหอมแบ่งที่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมี  มีความสามารถในการดูดใช้ไนโตรเจนที่ปลดปล่อย
                       จากดินไม่แตกต่างจากหอมแบ่งที่ไม่ได้รับการใส่ปุ๋ยเคมี และปริมาณไนโตรเจน ที่สะสมในหอมแบ่ง

                       ที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ใส่ปุ๋ยคือไนโตรเจนที่ต้นพืชได้รับจากปุ๋ยเคมี ดังนั้นไนโตรเจนที่หอมแบ่งที่ได้รับ
                       ปุ๋ยไนโตรเจน  ในวิธีการที่ 2, 3,  4, 5 และ 6 มีเพียง 5.8, 8.7, 13.7, 2.3 และ 16.2 เปอร์เซ็นต์
                       ของปริมาณ ไนโตรเจนทั้งหมดในปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดิน ในขณะที่การใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัส และ

                       โพแทสเซียม  ไม่มีผลท าให้การดูดใช้ ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม  เพิ่มขึ้น  เมื่อใช้ข้อมูลของ
                       Huett.et al. (1997) ส่วนเหนือดินของหอมแบ่ง (Allium cepa var.aggregation) ในระยะที่
                       ให้ใบที่ 7  ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม  ในระดับ 2.6, 0.34    และ
                       3.68  เปอร์เซ็นต์  ถือว่ามีธาตุอาหารหลักอยู่ในระดับที่พอเพียง ในการพิจารณาสภาวะของธาตุ
                       อาหารหลักของหอมแบ่งที่ปลูกในการทดลองนี้กล่าวได้ว่า หอมแบ่งที่ปลูกในต ารับการทดลองที่ 1

                       ไม่ขาด ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ดังตารางที่ 37
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80