Page 79 - การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่โครงการลดการเผาพื้นที่โล่งเตียนเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน บ้านดอน หมู่ที่ 5 ตำบลสวด อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน
P. 79

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       60







                       (ตารางที่ 6)  อาจเกิดจากพื้นที่มีความลาดชัน และมีความยาวของความลาดชันมาก ประกอบกับการ
                       ใช้ประโยชน์ที่ดินโดยการปลูกพืชไร่(ข้าวโพด) เป็นหลักจึงมีการรบกวนหน้าดินทุกปี ซึ่งจะต้องหา

                       มาตรการอนุรักษ์ดินและน้้าเสริม เช่น การใช้แถบหญ้าแฝกเสริมเข้าไปในคันดินแบบ 6ฯลฯ จะช่วย
                       ลดปริมาณการสูญเสียดินลงได้จนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้


                                     5.2.3 การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีที่ส้าคัญของดินโดยใช้ผลการ
                       วิเคราะห์ดินเป็นตัวชี้วัด ผลการวิเคราะห์ดินก่อนและหลังการด้าเนินงานก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและ

                       น้้า พบว่า สมบัติทางเคมีที่ส้าคัญของดินเปลี่ยนแปลงน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนด้าเนินงาน

                       และค่ามาตรฐาน เนื่องจากระยะเวลาใช้ประโยชน์ที่ดินสั้น (1 ฤดูปลูก) ดินทุกกลุ่มชุดดิน ยังคงมี
                       สภาพเป็นกรดจัด (ค่า pH 5.3-5.4) ปริมาณอินทรียวัตถุต่้า (0.9-1.0เปอร์เซ็นต์) ปริมาณฟอสฟอรัสที่

                       เป็นประโยชน์ (8-9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ (26-29มิลลิกรัมต่อ
                       กิโลกรัม) อยู่ในระดับปานกลางถึงต่้า

                                     5.2.4 การสนับสนุนกล้าไม้ผลให้เกษตรกรหลังด้าเนินการจัดระบบอนุรักษ์ดินและ

                       น้้า โดยสนับสนุนกล้าไม้ผลพันธุ์ส่งเสริมรวม 6,600 ต้น เป็นมะขามเปรี้ยวยักษ์ 3,600 ต้น มะขาม
                       หวานสีทอง 1,000 ต้น ล้าไยพันธุ์อีดอ 1,000 ต้น มะม่วงน้้าดอกไม้ 1,000 ต้น เพื่อเปลี่ยนระบบ

                       การเกษตรจากการปลูกพืชไร่เป็นไม้ผลไม้ยืนต้นแทน ช่วยลดปัญหาการเผาเศษพืชและไถเตรียมดิน

                       ทุกปี


                       5.3 แนวทางในการปรับปรุงบ้ารุงดิน

                                จากผลการวิเคราะห์ดินพบว่าสมบัติทางเคมีของดินหลังการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้้า

                       แล้วยังไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืชมากนัก ดินยังคงมีสภาพเป็นกรดจัด ปริมาณธาตุอาหาร
                       ที่จ้าเป็นและปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่้า จึงควรมีการปรับปรุงบ้ารุงดิน โดย


                                     5.3.1 การใช้ปูนปรับปฏิกิริยาดินโดยการใช้ปูน ควรใช้ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ตาม
                       ค่าความต้องการปูนของดินโดยใส่ปูนในอัตรา 300 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นตรวจสอบค่าความเป็นกรด-

                       ด่างของดิน อาจจะใช้ test kit ให้ค่า pH ประมาณ 6.8

                                     5.3.2 การเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินโดยใช้ปุ๋ยพืชสดคือ ปอเทือง หว่านเมล็ด อัตรา 5

                       กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบ (พืชไร่) หรือปล่อยให้ปอเทืองหมดอายุทับถมในพื้นที่และสลายตัวเป็น

                       อินทรียวัตถุต่อไป หรืออาจจะตัดฟันต้นคลุมดินซึ่งปอเทืองจะสลายตัวเป็นอินทรียวัตถุต่อไป (ไม้ผลไม้
                       ยืนต้น)


                                     5.3.3 การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงใช้ในอัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่ จะให้ไนโตรเจน
                       ประมาณ 8.94  ฟอสฟอรัส ประมาณ 14.47  และโพแทสเซียม ประมาณ 1.44 กิโลกรัมต่อไร่
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84