Page 54 - โครงการ 60 พรรษา สยามบรมราชกุมารี 60 เขตปฐพีพัฒนาอย่างยั่งยืน เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำห้วยฝ่าย-ห้วยสะท้อน (ศก.7) ลุ่มน้ำสาขา แม่น้ำมูล ส่วนที่ 3 ลุ่มน้ำหลัก แม่น้ำมูล อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       39








                       3.7 การประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดินในพื นที่ลุ่มน ้า

                              การประเมินการชะล้างพังทลายของดินเป็นการศึกษาการชะล้างพังทลายของดินเพื่อศึกษา
                       การสูญเสียดินที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ  เพราะการสูญเสียดินในแต่ละพื้นที่

                       ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ  เป็นอย่างยิ่งนับตั้งแต่การสูญเสียหน้าดินที่มีธาตุ
                       อาหารและอินทรียวัตถุ    ซึ่งเป็นผลให้ไม่สามารถท าการเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       นอกจากนั้น  ตะกอนของดินที่ถูกชะล้างจะไปทับถมในแม่น้ าล าธารสายต่างๆ  จนตื้นเขินท าให้
                       ความสามารถในการเก็บกักน้ าของแม่น้ าล าคลองลดลง  เป็นต้น  การชะล้างพังทลายของดินเกิดจาก

                       สาเหตุใหญ่  2  ประการ  คือประการที่หนึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น จากการกระท าของน้ า  ลม
                       ประการที่สองเกิดจากตัวเร่งให้เกิดการพังทลายของดิน  เช่น  การใช้ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์ที่ไม่

                       ค านึงถึงศักยภาพของที่ดิน โดยขาดมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม
                              กรมพัฒนาที่ดิน (2526) ได้อ้างถึงการศึกษาการประเมินการชะล้างพังทลายของดินใช้สมการ

                       การสูญเสียดินสากล (USLE) ของ Wichmeier และ Smith (1965) ซึ่งสมการนี้ใช้ประมาณค่าการ
                       สูญเสียดินที่เกิดขึ้นจากการกระท าของน้ า โดยก าหนดปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการสูญเสียดิน คือ

                       ปัจจัยเกี่ยวกับฝน ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ปัจจัยเกี่ยวกับดิน ปัจจัยเกี่ยวกับการปลูกพืช และ
                       ปัจจัยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ดินและน้ า การน าเอาสมการสูญเสียดินสากลมาใช้ประเมินค่าการสูญเสียดิน

                       ในพื้นที่เกษตรกรรมท าให้สามารถคาดคะเนการสูญเสียดินจากการชะล้างพังทลายของดินเพื่อช่วย
                       ตัดสินใจในการเลือกใช้ประโยชน์ที่ดินหรือก าหนดวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่จะน ามาใช้ การประเมิน

                       อัตราการชะล้างพังทลายของดิน จะใช้สมการการสูญเสียดินสากล (Universal Soil Loss Equation
                       :  A  =  RKLSCP)  ที่กล่าวไว้ข้างต้นมาใช้ในการประเมินศักยภาพการสูญเสียดินในพื้นที่ร่วมกับ

                       โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีรายละเอียดของแต่ละปัจจัยใน
                       การศึกษาดังนี้

                                     1) ปัจจัยเกี่ยวกับฝน (R - rainfall and runoff erosivity factor) ประเมินโดยใช้
                       เส้นน้ าฝนเท่า (isohyetal method) ที่พาดผ่านในแต่ละพื้นที่

                                     2) ปัจจัยเกี่ยวกับดิน (K - soil erodibility factor) ใช้ค่าปัจจัยความทนต่อการถูก
                       ชะล้างพังทลายของดินตามชนิดของเนื้อดินบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแยกตามกลุ่มชุดดิน

                                     3) ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ (LS - slope length and slope steepness
                       factors) ใช้ปัจจัยเกี่ยวกับความลาดชันและความยาวของความลาดชัน ใช้ค่าเฉลี่ยของความลาดชัน

                       ตามกลุ่มชุดดินตามการประเมินการสูญเสียดินในประเทศไทย (2545)
                                     4) ปัจจัยการจัดการพืช (C - crop management factor) แยกตามชนิดพืช เป็น

                       ค่าที่ไม่มีขนาดหรือหน่วย เป็นค่าที่แสดงความหมายถึงอัตราส่วนของการสูญเสียดิน ระหว่างพื้นที่ที่มี
                       การปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งปกคลุมอยู่  กับพื้นที่ที่ถูกไถพรวนโดยปราศจากพืชคลุมดิน  ในที่นี้ใช้ค่า

                       ตามการประเมินการสูญเสียดินในประเทศไทย (2545)
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59