Page 83 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 83

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     63





                                 แนวทางแก้ไข

                                 การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและปรับปรุงบ้ารุงดิน เช่น การไถกลบพืชปุ๋ยสด
                  (หว่านถั่วพร้าอัตรา 8-10 กิโกรัมต่อไร่ ถั่วพุ่มอัตรา 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ หรือปอเทือง อัตรา 4-6 กิโลกรัมต่อไร่
                  ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืช) หรือร่วมกับปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่

                  มีการใช้ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก และมีระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
                  เช่น ปลูกพืชสลับเป็นแถบ ท้าแนวคันดิน แนวหญ้าแฝกหรือแนวคันดินร่วมกับหญ้าแฝก เป็นต้น
                               3) ปัญหาพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ หรือพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน มีเนื้อที่
                  65,494 ไร่ หรือร้อยละ 27.92 ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ไม่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม เนื่องจากยากต่อการ
                  จัดการและเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย ถ้าใช้มาตรการพิเศษในการอนุรักษ์ดินและน้้า

                  จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง และยังเป็นการท้าลายระบบนิเวศของป่าอีกด้วย ดังนั้น ควรรักษาไว้ให้เป็นป่า
                  ธรรมชาติ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์ป่า รวมถึงเป็นแหล่งต้นน้้าล้าธาร ถ้ามีความ
                  จ้าเป็นต้องน้ามาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ควรมีการเลือกใช้พื้นที่ที่มีศักยภาพในการเกษตร ต้องเป็นดินลึก

                  และมีความลาดชันไม่สูงมากนัก โดยต้องท้าการเกษตรแบบวนเกษตรและมีระบบอนุรักษ์ดินและน้้า
                  ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
                                 ข้อเสนอแนะการใช้พื้นที่มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์
                                   - ในกรณีที่เป็นดินลึก ควรท้าเป็นคันดินแบบขั้นบันไดต่อเนื่องส้าหรับปลูกพืช

                  ล้มลุกที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง หรือถ้ามีการปลูกไม้ยืนต้น ควรปลูกพืชคลุมดินร่วมด้วย
                                   - ในกรณีที่เป็นดินลึกหรือลึกปานกลาง ควรปลูกไม้ยืนต้นขวางความลาดเท
                  ร่วมกับหญ้าแฝกและปลูกพืชคลุมดินระหว่างต้นพืช ควรท้าคันคูรอบเขาและคูเบนน้้าเพื่อระบายน้้า ในกรณี
                  ที่ปลูกไม้ยืนต้นและต้องการปลูกพืชแซมระหว่างแถวก่อนไม้ยืนต้น สามารถปลูกพืชไร่ระหว่างแถวไม้ยืนต้น

                  ได้ในระยะแรก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว เพื่อปรับปรุงบ้ารุงดินและช่วยคลุมดิน เนื่องจากพื้นที่มีความลาดชัน
                  สูงท้าให้เกิดการสูญเสียหน้าดินได้ง่าย
                                   - ในกรณีที่เป็นดินตื้นไม่ควรปลูกพืชไร่หรือพืชล้มลุก ควรปลูกไม้ยืนต้นขวาง
                  ความลาดเทของพื้นที่ และปลูกพืชคลุมดินระหว่างต้นพืช และควรท้าคันคูรอบเขาเพื่อระบายน้้า ในกรณี

                  ที่ปลูกไม้ยืนต้นและต้องการปลูกพืชแซมระหว่างแถวก่อนไม้ยืนต้นโตนั้นไม่ควรมีการไถพรวน เนื่องจาก
                  พื้นที่มีความลาดชันสูงท้าให้เกิดการสูญเสียหน้าดินได้ง่าย
                               4) ไม่มีปัญหาทางการเกษตร ได้แก่ หน่วยแผนที่ 5 7 และ 15 มีเนื้อที่ 70,735 ไร่ หรือ

                  ร้อยละ 30.16 แต่อาจพบปัญหาเล็กน้อยเมื่อหน้าดินแห้ง ดินจะแข็งและแตกระแหง หรืออาจขาดแคลน
                  น้้าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนานในบางพื้นที่
                               5) พื้นที่อื่นๆ ได้แก่ พื้นที่เบ็ดเตล็ด ประกอบด้วย พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างและ
                  พื้นที่น้้า มีเนื้อที่รวม 21,893 ไร่ หรือร้อยละ 9.33
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88