Page 82 - รายงานการสำรวจดินพื้นที่ดำเนินการบ้านแม่จว้าปันเจิง หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ และบ้านใหม่นคร หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำน้ำแม่อิงเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำอิงตอนบน (รหัส 0204) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำโขง (รหัส 02)
P. 82

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                     62





                             7.1.12 ปัญหาทรัพยากรดินและแนวทางแก้ไข

                               จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้้าน้้าแม่อิง
                  ตอนบนเขตที่ 2 (หนองเล็งทราย) จังหวัดพะเยา สามารถสรุปปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่แยกตามสภาพ
                  พื้นที่และคุณสมบัติของดิน พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้ (ภาพที่ 11)

                               1) ปัญหาดินตื้นถึงก้อนหินหรือเศษหิน เป็นดินที่มีศักยภาพทางการเกษตรต่้า เนื่องจาก
                  เป็นดินตื้นถึงก้อนหินหรือเศษหินและอาจพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 150 เซนติเมตรจากผิวดิน ชั้นนี้จะ
                  เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชในดินชั้นล่างเพื่อหาแร่ธาตุอาหารและน้้า เพื่อการเจริญเติบโต
                  และสร้างผลผลิตได้อย่างปกติ ความลึกของดินจึงเป็นตัวก้าหนดระบบของรากพืชในการชอนไชไปหา
                  อาหารหรือความแข็งแรงของรากในการค้้าจุนล้าต้น ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 48C 48D และ 48E มีเนื้อที่

                  12,713 ไร่ หรือร้อยละ 5.42
                               แนวทางแก้ไข
                               การปลูกพืชไร่หรือพืชผัก ควรเลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 เซนติเมตร จัดระบบ

                  การปลูกพืชหมุนเวียน ปรับปรุงบ้ารุงดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 3-4 ตันต่อไร่ หรือหว่านเมล็ดถั่วพร้า
                  ปอเทือง แล้วไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืชเพื่อบ้ารุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุ
                  โดยใช้ร่วมกับน้้าหมักชีวภาพ และ/หรือปุ๋ยเคมีในอัตราส่วนที่เหมาะสม การปลูกไม้ผลควรขุดหลุมขนาด
                  75x75x75 เซนติเมตร ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้าดินร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม มีระบบ

                  อนุรักษ์ดินและน้้า เช่น การสร้างคันดิน ท้าขั้นบันได ท้าฐานปลูกเฉพาะต้น ปลูกพืชคลุมดิน ท้าแนวรั้ว
                  หรือท้าฐานเฉพาะต้นหญ้าแฝก ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมัก
                  หรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้้า ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้้าและจัดระบบการให้น้้า
                  ในแปลงปลูก

                               2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้า
                                  2.1) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้าที่ลุ่ม เนื่องจากดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม
                  ธรรมชาติต่้า บางพื้นที่ดินเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนน้้านาน และน้้าท่วมขังในฤดูฝน ท้าความเสียหาย
                  กับพืชที่ไม่ชอบน้้า ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 6 และ 18 มีเนื้อที่ 19,231 ไร่ หรือร้อยละ 8.19

                                  แนวทางแก้ไข
                                  เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินและปรับปรุงบ้ารุงดิน ในพื้นที่ที่เป็นกรดจัดมาก
                  หว่านวัสดุปูน 200 - 300 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารในดิน ไถกลบตอซัง

                  หรือไถกลบพืชปุ๋ยสด (โสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัมต่อไร่) ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
                  พัฒนาแหล่งน้้าไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้้า ส้าหรับการปลูกพืชไร่หรือพืชผักหลังการเก็บเกี่ยวข้าว ควรมีการ
                  ท้าร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 1-2 ตันต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้้า
                                  2.2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่้าที่ดอน เนื่องจากวัตถุต้นก้าเนิดดินมีแร่ธาตุ
                  อาหารตามธรรมชาติน้อย ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็น

                  เวลานาน โดยขาดการปรับปรุงบ้ารุงดิน ท้าให้ดินเสื่อมโทรม ธาตุอาหารพืชลดลง ท้าให้พืชเจริญเติบโตช้า
                  ผลผลิตลดลง ได้แก่ หน่วยแผนที่ดิน 35gm 35gmB 35B 35C และ 56C มีเนื้อที่ 44,524 ไร่ หรือร้อยละ
                  18.98
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87