Page 40 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 40

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  31



                  7) ชุดดินสัตหีบ

                  การจ�าแนกดิน        Isohyperthermic, Ustic Quartzipsamments

                  สภาพพื้นที่         ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 เปอร์เซ็นต์

                  ภูมิสัณฐาน          พื้นที่ลาดเชิงเนินของพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อนที่มีหินพื้นเป็นหินแกรนิต


                  วัตถุต้นก�าเนิด     เกิดจากการถูกพัดพามาทับถม โดยกระบวนการชะล้างพังทลาย ซึ่งวัตถุดังกล่าวเกิดจาก
                                      การผุพังสลายตัวของหินแกรนิต

                  การระบายน�้า        ค่อนข้างมากเกินไป

                  การซึมผ่านได้ของน�้า  เร็ว  การไหลบ่าของน�้าบนผิวดิน  ปานกลางถึงเร็ว


                  การใช้ประโยชน์      สวนป่าสมบูรณ์ ไม้ผลผสม มะนาว มะม่วง พืชผัก ยางพารา ไม้ยืนต้น ยูคาลิปตัส

                  ลักษณะ              เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินทราย สีน�้าตาล ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง
                                      (pH 5.5-6.0) ดินล่างเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนตลอดจนถึงระดับความลึก

                                      2 เมตร ดินล่างตอนบนมีสีน�้าตาลอ่อน และลึกลงไปเป็นดินทรายสีขาวหรือสีเทาปน
                                      น�้าตาลอ่อน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง (pH 5.0-6.0)


                  ข้อจ�ากัด           ความอุดมสมบูรณ์ต�่า และเนื้อดินเป็นทรายจัด

                  ข้อเสนอแนะ          เนื่องจากดินเป็นทรายจัด ดังนั้น จึงมีข้อจ�ากัดมากในการน�ามาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ
                                      ถ้ามีแหล่งน�้าดี อาจใช้ปลูกพืชที่ขึ้นได้ในดินทราย เช่น มันส�าปะหลัง แตงโม หรือสับปะรด

                                      แต่ค่อนข้างเสี่ยงต่อการขาดแคลนน�้า จ�าเป็นต้องมีการใช้ปุ๋ยบ�ารุงดินทุกรูปแบบ และมี
                                      วิธีการใช้ที่เหมาะสมถ้าจะน�ามาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจแต่อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

                                      การปลูกไม้โตเร็วหรือปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในการน�าดินนี้
                                      มาใช้ประโยชน์

                        ชุดดินสัตหีบที่พบมี 2 ประเภท และเขียนขอบเขตไว้ในแผนที่ดินเป็นหมายเลขหน่วยแผนที่ดินที่ 11

                  และ 12 ดังนี้

                        หน่วยแผนที่ดินที่ 11 : ชุดดินสัตหีบ ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน มีความลาดชัน

                  0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 94 ไร่ หรือร้อยละ 4.64 ของพื้นที่

                         หน่วยแผนที่ดินที่ 12 : ชุดดินสัตหีบ ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน มีความลาดชัน
                  2-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 351 ไร่ หรือร้อยละ 17.3 ของพื้นที่
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45