Page 38 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 38
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ 29
5) ชุดดินมาบบอน
การจ�าแนกดิน Fine-loamy, mixed, isohyperthermic Typic Paleustults
สภาพพื้นที่ ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 1-5 เปอร์เซ็นต์
ภูมิสัณฐาน พื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อนในพื้นที่ที่มีหินพื้นเป็นหินแกรนิต
วัตถุต้นก�าเนิด เกิดจากการผุพังสลายตัวของหินแกรนิต
การระบายน�้า ดี
การซึมผ่านได้ของน�้า ปานกลาง การไหลบ่าของน�้าบนผิวดิน ปานกลาง
การใช้ประโยชน์ ยางพารา สวนป่า
ลักษณะ เป็นดินลึกมาก ดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วน สีน�้าตาลถึงสีเหลืองปนแดง ปฏิกิริยาดิน
เป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด (pH 5.0-5.5) ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย
สีน�้าตาลเข้ม หรือสีเหลืองปนแดง บางบริเวณในชั้นดินล่างที่ช่วงความลึกประมาณ
100-150 เซนติเมตร จากผิวดิน อาจพบก้อนกรวดปะปนอยู่ และพบสีผสมของหินแกรนิตผุ
(weathered granite) เป็นสีน�้าตาลอ่อน สีน�้าตาลปนเหลือง สีเทา สีแดงปนน�้าตาลและ
สีแดงปะปนอยู่ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัด (pH 4.5-5.5)
ข้อจ�ากัด เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า เสี่ยงต่อการขาดแคลนน�้าส�าหรับพืช
ในฤดูเพาะปลูก และเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลาย
ข้อเสนอแนะ เหมาะส�าหรับปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น หรือสวนป่าถ้ามีการปลูกพืชเศรษฐกิจควรมี
การปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ป้องกันการขาดน�้า และการชะล้างพังทลาย
ชุดดินมาบบอนที่พบมี 2 ประเภท และเขียนขอบเขตไว้ในแผนที่ดินเป็นหมายเลขหน่วยแผนที่ดินที่ 8
และ 9 ดังนี้
หน่วยแผนที่ดินที่ 8 : ชุดดินมาบบอน ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน
0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 127 ไร่ หรือร้อยละ 6.25 ของพื้นที่
หน่วยแผนที่ดินที่ 9 : ชุดดินมาบบอน ประเภทที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย และมีความลาดชัน
2-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 69 ไร่ หรือร้อยละ 3.40 ของพื้นที่