Page 105 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 105

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  87



                              ปฏิกิริยาดิน (soil pH) เป็นค่าที่วัดสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าพีเอชของดินบอกเป็น
                  ตัวเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 ถ้าดินมีค่าพีเอชน้อยกว่า 7 แสดงว่าดินนั้นมีสภาพเป็นกรด ยิ่งมีค่าน้อยกว่า 7 มาก

                  ก็เป็นกรดมาก แต่ถ้าดินมีค่าพีเอชมากกว่า 7 จะมีสภาพเป็นด่าง ส�าหรับดินที่มีค่าพีเอชเท่ากับ 7 แสดงว่าดินมี
                  สภาพเป็นกลาง

                              ความลาดชันของพื้นที่ (slope) สภาพความสูงต�่าของพื้นที่ที่มีการเอียงไปจากแนวระนาบ มีหน่วย

                  เป็นเปอร์เซ็นต์หรือองศา แบ่งออกเป็น 6 ชั้น ดังตาราง


                     สัญลักษณ์                        การเรียกชื่อ                      ความลาดชัน (ร้อยละ)

                         A          ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ (flat to nearly flat)           0-2

                         B          ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย (slightly undulating)                2-5

                         C          ลูกคลื่นลอนลาด (undulating)                                5-12

                         D          ลูกคลื่นลอนชัน (rolling)                                   12-20


                         E          เนินเขา (hilly)                                            20-35

                        SC          พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (slope complex)                   มากกว่า 35





                              เนื้อดิน (soil texture) สัดส่วนสัมพัทธ์โดยน�้าหนักของกลุ่มขนาดอนุภาคดินต่างๆ ที่มีขนาดเล็กกว่า
                  2 มิลลิเมตร ที่วิเคราะห์ได้จากห้องปฏิบัติการ เมื่อประกอบกันในสัดส่วนต่างๆ กัน จะได้ชั้นหรือประเภทเนื้อดิน

                  ซึ่งแบ่งกลุ่มอนุภาค ออกเป็น 3 กลุ่ม หลักๆ คือ อนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 2.0-0.05 มิลลิเมตร)
                  อนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.05-0.002 มิลลิเมตร ) อนุภาคขนาดเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง

                  ขนาดเล็กกว่า 0.002 มิลลิเมตร)

                              ระดับการส�ารวจดินแบบค่อนข้างละเอียด (semi-detailed survey) เป็นการส�ารวจดินเพื่อใช้

                  ข้อมูลในการวางแผนระดับอ�าเภอหรือโครงการขนาดกลาง เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพของพื้นที่ในการพัฒนาและ
                  วางแนวทางการปฏิบัติงาน แผนที่ที่ใช้ในการส�ารวจดินมีมาตราส่วน 1:15,000 ถึง 1:50,000 แผนที่ดินที่พิมพ์
                  ออกเผยแพร่มีมาตราส่วน 1:25,000 ถึง 1:60,000 ขอบเขตของดินอาศัยการแปลรูปถ่ายทางอากาศและภาพถ่าย

                  ดาวเทียม การตรวจสอบดินในสนาม ระยะและปริมาณจุดตรวจสอบดินก�าหนดไว้ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร

                  ต่อ 4-6 จุดตรวจสอบดิน (100-150 ไร่/จุด) หน่วยแผนที่ที่ใช้ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเดี่ยว และหน่วยเชิงซ้อน
                  ประเภทของชุดดิน หรือดินคล้ายชุดดิน และหน่วยพื้นที่เบ็ดเตล็ด

                              สีของดิน (soil color) เป็นคุณสมบัติดินที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าคุณสมบัติอื่นๆ ดินมีหลายสี

                  เช่น สีด�า เทา น�้าตาล เหลือง หรือ แดง การที่ดินจะมีสีอะไรนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของแร่ที่เป็นองค์ประกอบในดิน
                  สภาพแวดล้อมในการเกิดดิน พัฒนาการของดินหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีอยู่ในดิน การสังเกตสีของดิน จะท�าให้เราสามารถ

                  ประเมินคุณสมบัติบางอย่างของดินได้ เช่น การระบายน�้า ปริมาณอินทรียวัตถุ การแช่ขังของน�้าในดิน และการ
                  สะสมของธาตุเหล็กในดิน
   100   101   102   103   104   105   106   107   108