Page 104 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


            86    ร า ย ง า น การส�ารวจดิน




            ตารางแสดงระดับของธาตุอาหารที่ใช้ในการประเมินความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                                                 CEC
             ระดับของธาตุอาหาร    OM (%)         BS (%)      (cmol kg–1)    Available P  Available K
                                                                                             (ppm)
                                                                              (ppm)
                                    <1.5           <35           <10            <10           <60
                     ต�่า
                                     (1)           (1)            (1)           (1)            (1)

                                   1.5-3.5        35-75         10-20          10-20         60-90
                  ปานกลาง
                                     (2)           (2)            (2)           (2)            (2)
                                    >3.5           >75           >20            >25           >90
                     สูง
                                     (3)           (3)            (3)           (3)            (3)

            หมายเหตุ:

            ระดับของธาตุอาหารต�่า        ให้ 1 คะแนน   :  คะแนนรวม เท่ากับ 5-7 (ความอุดมสมบูรณ์ต�่า)

            ระดับของธาตุอาหารปานกลาง   ให้ 2 คะแนน   :   คะแนนรวม เท่ากับ 8-12 (ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง)
            ระดับของธาตุอาหารสูง        ให้ 3 คะแนน   :   คะแนนรวม เท่ากับ 13-15 (ความอุดมสมบูรณ์สูง)



                   10.3  ค�าอธิบายนามศัพท์

                        ความลึกของดิน (soil depth) ในทางการเกษตรได้แบ่งความลึกของดินออกเป็น 5 ชั้น โดยยึดเอา

            ความลึกที่วัดจากผิวดินถึงชั้นที่ขัดขวางการเจริญเติบโตหรือการใช้ใช้ของรากพืช ได้แก่ ชั้นหินพื้น ชั้นดานแข็ง ชั้น
            ศิลาแลง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นลูกรังที่หนาแน่นมาก


                        -   ดินตื้นมาก พบชั้นขัดขวางภายในความลึก 25 เซนติเมตร จากผิวดิน
                        -   ดินตื้น พบชั้นขัดขวางภายในความลึก 25-50 เซนติเมตร จากผิวดิน

                        -   ดินลึกปานกลาง พบชั้นขัดขวางภายในความลึก 50-100 เซนติเมตร จากผิวดิน
                        -   ดินลึก พบชั้นขัดขวางภายในความลึก 100-150 เซนติเมตร จากผิวดิน

                        -   ดินลึกมาก พบชั้นขัดขวางภายในความลึก >150 เซนติเมตร จากผิวดิน

                        จุดประ (mottle) จุดสีของดินที่เกิดขึ้นกระจายอยู่ในชั้นหน้าตัดดิน พบในดินที่มีสภาพการระบาย
            น�้าเลวค่อนข้างเลว หรือดีปานกลาง มีการแช่ขังในชั้นดินเป็นเวลานานในรอบปีท�าให้มีออกซิเดชันและรีดักชันของ

            สารพวกเหล็กและแมงกานีสเกิดเป็นจุดประแทรกอยู่ในสีพื้นของดิน

                        ดินตื้น (shallow soil) ดินที่มีชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ปูนมาร์ล หนาแน่นมาก หรือพบชั้นหิน
            พื้นอยู่ตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืชดินดูดซับน�้าและดูดธาตุอาหารได้

            น้อยส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช

                        ดินทรายจัด (sandy soil) ดินที่เนื้อดินตอนบนเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนหนาอย่างน้อย

            50 เซนติเมตร จากผิวดิน เม็ดดินไม่เกาะตัวกันการระบายน�้าค่อนข้างมากเกินไป ดินอุ้มน�้าได้น้อยมีการดูดยึดธาตุ
            อาหารต�่า ความอุดมสมบูรณ์ต�่ามาก พืชเสี่ยงต่อการขาดน�้า ถ้าหากฝนทิ้งช่วงเม็ดทรายมักอัดตัวแน่นทึบ

            ใต้ชั้นไถพรวน หน้าดินเกิดการชะล้างพังทลายง่าย
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108