Page 57 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 57

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


            48    ร า ย ง า น การส�ารวจดิน




                       (3) ดินทรายในพื้นที่ลุ่ม เป็นดินทรายลึกมาก มีสีเทา และมีจุดประสี สีเหลืองปนน�้าตาลหรือสีน�้าตาล
            ปนเหลืองเข้ม พบเปลือกหอยได้ในทุกชั้นดิน มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า น�้าท่วมขังในฤดูฝน บางบริเวณอาจจะได้รับ

            ผลกระทบจากบ่อเลี้ยงสัตว์น�้าในพื้นที่ข้างเคียงท�าให้มีเกลือสะสมอยู่ในดิน ไม่ค่อยเหมาะสมต่อการปลูกพืช
            เศรษฐกิจ ยกเว้นการน�ามาใช้ท�านา เนื่องจากเป็นที่ลุ่มมีน�้าแช่ขังในฤดูฝน ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 12 มีเนื้อที่

            1,331 ไร่ หรือร้อยละ 16.61 ของพื้นที่ทั้งหมด
                       (4) ดินเค็มบริเวณป่าชายเลนที่เป็นดินอินทรีย์ เป็นดินอินทรีย์หนามากกว่า 130 เซนติเมตร

            วัสดุอินทรีย์ประกอบไปด้วยซากพืชป่าชายเลนที่มีการสลายตัวเล็กน้อยถึงปานกลาง  ที่ความลึก 130-150
            เซนติเมตร พบชั้นดินเลนสีเทาปนน�้าเงิน คาดว่ามีองค์ประกอบของก�ามะถันเป็นจ�านวนมากและดินที่ขุดมาแล้ว

            ปล่อยให้แห้งพบสารประกอบสีเหลืองฟางข้าว (Jarosite) และเป็นกรดจัด ดินมีน�้าทะเลแช่ขังเกือบตลอดเวลา
            จึงมีปฏิกิริยาเป็นด่างจัด ค่าปฏิกิริยาดินที่วัดได้จะอยู่ที่ประมาณ 8.0 เป็นดินอินทรีย์ที่มีคุณภาพต�่า เป็นดินเค็ม

            ที่มีน�้าทะเลท่วมถึงยากในการพัฒนาเมื่อน�ามาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจไม่คุ้มกับการลงทุนและท�าให้ระบบนิเวศ
            เสียหาย ควรรักษาไว้ให้เป็นป่าชายเลน ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 10 มีเนื้อที่ 898 ไร่ หรือร้อยละ 11.2 ของพื้นที่

            ทั้งหมด
                       (5) ดินเค็มบริเวณป่าชายเลนที่เป็นดินทราย เป็นดินร่วนปนทรายปนเศษพืชสีด�าหรือสีเทาปนน�้าเงิน

            ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายปนเศษพืชมีสีเทาปนน�้าเงิน ระดับน�้าใต้ดินตื้นมาก เนื่องจากเป็นดินทราย
            ที่เป็นดินเค็มเนื่องจากมีน�้าทะเลท่วมถึงเป็นประจ�า จึงไม่เหมาะสมส�าหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจทุกชนิด ควรปล่อย

            ไว้ให้เป็นป่าชายเลน เป็นที่อยู่อาศัยและเพาะพันธุ์สัตว์น�้า พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ควรฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนกลับคืน
            มา เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่งได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 11 มีเนื้อที่ 315 ไร่ หรือร้อยละ 3.93 ของพื้นที่ทั้งหมด

                       (6) ดินตื้น เป็นดินที่มีชั้นเศษหิน ลูกรังปะปนมากหรือพบชั้นหินผุ ภายในความลึก 50 เซนติเมตร

            จากผิวดิน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืชที่ปลูก แบ่งได้ 3 ประเภท คือ

                          -  ดินตื้นปนเศษหิน เป็นดินร่วนปนดินเหนียวปนกรวด มีสีแดงปนเหลือง ดินล่างมีเนื้อดิน

            เป็นดินเหนียวปนกรวดมาก มีสีแดงปนเหลืองหรือสีน�้าตาลปนแดง สีเหลือง และมีสีผสมของหินผุ พบชั้นหินพื้น
            ภายในความลึก 90 เซนติเมตร จากผิวดิน เป็นดินที่ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลาย ความอุดมสมบูรณ์ต�่า ไม่ค่อย

            เหมาะสมในการน�ามาปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ยกเว้น ยางพารา ปาล์มน�้ามัน ปลูกป่า หรือไม้โตเร็ว ได้แก่
            หน่วยแผนที่ดินที่ 6,7,8 และ 9 มีเนื้อที่ 329 ไร่ หรือร้อยละ 4.11 ของพื้นที่ทั้งหมด

                          -  ดินตื้นปนลูกรัง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินร่วนเหนียว มีสีน�้าตาล ดินล่างมีเนื้อดิน

            เป็นดินเหนียวปนลูกรัง สีแดงปนเหลือง มีความอุดมสมบูรณ์ต�่า ไม่ค่อยเหมาะสมในการน�ามาปลูกพืชเศรษฐกิจ
            ต่างๆ ยกเว้น ยางพารา ปาล์มน�้ามัน ปลูกป่า หรือไม้โตเร็ว ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 4 มีเนื้อที่ 441 ไร่ หรือ

            ร้อยละ 5.5 ของพื้นที่ทั้งหมด

                       (7) ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นดินทรายร่วนหยาบ มีน�้าตาลปนเหลือง เนื่องจากเป็นเนื้อดิน
            เป็นทรายท�าให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต�่า เหมาะสมในการน�ามาปลูกพืชเศรษฐกิจทั่วไป รวมทั้งการปลูกหญ้า

            เลี้ยงสัตว์ หรือปลูกไม้โตเร็ว ต่างๆ ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 5 มีเนื้อที่ 384 ไร่ หรือร้อยละ 4.79 ของพื้นที่ทั้งหมด
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62