Page 56 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 56

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  47



                  ส�าหรับใช้เป็นบ่อขุด มีข้อจ�ากัดที่เกี่ยวข้องกับความซึมน�้าของดิน และ ความเค็ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1, 2,
                  3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 และ 11 มีเนื้อที่ 3,678 ไร่ หรือร้อยละ 45.88 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                      (1.4)  ความเหมาะสมของดินส�าหรับใช้เป็นพื้นที่สร้างอ่างเก็บน�้าขนาดเล็ก

                                           อ่างเก็บน�้าขนาดเล็ก คือ พื้นที่หลังเขื่อนหรือหลังคันดิน เป็นที่รวบรวมและเก็บ
                  กักน�้าไว้เพื่อใช้ประโยชน์ พื้นที่ท้องอ่างเก็บน�้าโดยปกติจะไม่ท�าการเปลี่ยนแปลง นอกจากจะขุดวัสดุที่เป็นดินเอา

                  ไปใช้ท�าคันดิน หน่วยแผนที่ดินที่เหมาะสมส�าหรับใช้เป็นพื้นที่อ่างเก็บน�้าขนาดเล็ก มีข้อจ�ากัดที่เกี่ยวข้องกับ
                  ความซึมน�้าของดิน และ ความเค็ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10 และ 11 มีเนื้อที่

                  3,678 ไร่ หรือร้อยละ 45.88 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                      (1.5)  ความเหมาะสมของดินส�าหรับใช้สร้างอาคารต�่า

                                           อาคารต�่า คือ อาคารที่สูงไม่เกิน 3 ชั้น ซึ่งมีฐานรากกว้างกว่า 30 เซนติเมตร
                  และลึกอย่างน้อย 30 เซนติเมตร คุณสมบัติของดินซึ่งมีผลต่อฐานราก คือ คุณสมบัติที่เกี่ยวกับความสามารถและ

                  ความมั่นคงในการรองรับน�้าหนัก รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขุดและค่าก่อสร้าง หน่วยแผนที่ดินที่เหมาะสมใช้สร้าง
                  อาคารต�่า ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1, 2, 3, 5, 4, 6 และ 7 มีเนื้อที่ 1,695 ไร่ หรือร้อยละ 21.14 ของพื้นที่ทั้งหมด

                                      (1.6)  ความเหมาะสมของดินส�าหรับใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน

                                           การใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน เป็นการใช้ยานพานะในไร่นา โดยเฉพาะ
                  รถแทรกเตอร์และรถบรรทุก มักจะเกิดปัญหารถติดหล่มและลื่นไถล ไม่สามารถผ่านไปได้ หน่วยแผนที่ดิน

                  ที่เหมาะสมส�าหรับใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 4, 5 และ 6 มีเนื้อที่ 945 ไร่ หรือร้อยละ
                  11.79 ของพื้นที่ทั้งหมด

                        7.4  ปัญหาทรัพยากรดินในการน�ามาใช้ท�าการเกษตรในพื้นที่โครงการ


                            จากการศึกษาทรัพยากรดินในพื้นที่ศูนย์ฯ พบว่าดินในพื้นที่ศูนย์ฯ มีดินที่เป็นปัญหาต่อการใช้เป็น
                  พื้นที่ในการท�าการเกษตร ดังนี้

                            (1) ดินทรายจัดบริเวณหาดทรายเก่า เนื้อดินเป็นทรายตลอดจนถึงความลึก 2 เมตร ความอุดม
                  สมบูรณ์ต�่ามาก ความสามารถในการอุ้มน�้าได้น้อยและง่ายต่อการขาดแคลนน�้า ไม่ค่อยเหมาะสมในการน�ามาใช้

                  ปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ยกเว้นการใช้ปลูกมะพร้าวและปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 3 มีเนื้อที่
                  383 ไร่ หรือร้อยละ 4.78 ของพื้นที่ทั้งหมด

                            (2) ดินทรายจัดที่มีชั้นดานอินทรีย์บริเวณหาดทรายเก่า เนื้อดินบนเป็นดินทรายหรือดินทรายปนดิน
                  ร่วนสีเทา ดินล่างตอนบนมีสีเทาอ่อนหรือสีขาว ชั้นดินล่างถัดไประหว่างความลึก 50-150 เซนติเมตรจากผิวดิน

                  เป็นชั้นดานอินทรีย์ ซึ่งเป็นชั้นสะสมอินทรียวัตถุที่ถูกชะล้างมาจากชั้นทรายสีขาวข้างบน ชั้นถัดลงไปมีเนื้อดิน
                  เป็นดินทรายหรือดินทรายปนดินร่วนมีสีเหลืองหรือสีน�้าตาลอ่อน มีความอุดมสมบูรณ์ต�่ามากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง

                  ชั้นทรายสีขาวซึ่งขาดธาตุอาหารต่างๆ อย่างรุนแรง การที่ดินเป็นทรายจะท�าให้ดินมีความสามารถในการ
                  อุ้มน�้าน้อย เสี่ยงต่อการขาดแคลนน�้าในฤดูแล้งหรือในระยะฝนทิ้งช่วง ไม่ค่อยเหมาะสมในการน�ามาใช้ปลูกพืช

                  เศรษฐกิจต่างๆ ควรปล่อยไว้เป็นป่าเสม็ดตามธรรมชาติ ได้แก่ หน่วยแผนที่ดินที่ 1 และ 2 มีเนื้อที่ 928 ไร่ หรือ
                  ร้อยละ 11.57 ของพื้นที่ทั้งหมด
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61