Page 18 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
P. 18

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  9



                        6.3   สภำพภูมิประเทศ

                            สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ของพื้นที่ด�าเนินงาน เป็นพื้นที่ลุ่มน�้าขนาดเล็ก และเป็นแผ่นดินขนาน
                  ไปกับอ่าวที่มีลักษณะเป็นรูปไต โดยมีปากอ่าวอยู่ทางทิศตะวันตกทะลุออกอ่าวไทย และมีภูเขาบริเวณปากอ่าว

                  ทั้งสองข้างซึ่งเรียกว่าแหลมหินคันและเขาคุ้งกระเบน ที่มีลักษณะเป็นหัวแหลมผาชัน (head land) ทางด้านทิศ
                  ตะวันออกมีภูเขาทอดตัวไปตามแนวทิศเหนือทอดตัวไปทางใต้ ยาวไปจรดอ่าวไทย สภาพพื้นที่รอบอ่าวมีลักษณะ

                  เป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5% พื้นที่ที่มีลักษณะลูกคลื่นลอนลาด มีความลาดชัน 5-12%
                  จะพบบริเวณที่ติดกับภูเขา ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะค่อนข้างราบเรียบมีความลาดชัน 0-2% จะพบบริเวณตอนกลาง

                  และทิศตะวันออกของพื้นที่ บริเวณติดกับอ่าวคุ้งกระเบน และบริเวณสันทรายทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ ส่วนพื้นที่
                  ที่เป็นภูเขามีความลาดชันมากกว่า 35% จะพบเป็นแนวตั้งแต่ด้านทิศเหนือมาด้านทิศตะวันออกลงมาทางทิศใต้

                  ของพื้นที่ โดยยอดสูงสุดอยู่ที่เขาหมูดุด สูงจากระดับน�้าทะเลปานกลาง 212 เมตร ปากอ่าวกว้างประมาณ
                  650 เมตร ความกว้างของอ่าวประมาณ 2.6 กิโลเมตร ยาว 4.6 กิโลเมตร มีความลึกสูงสุด 8 เมตร อ่าวดังกล่าว

                  มีชื่อเรียกว่า อ่าวคุ้งกระเบน มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ พื้นที่บริเวณรอบๆ อ่าว มีลักษณะเป็นที่ราบ รอบอ่าว
                  มีป่าชายเลนขึ้นกระจายอยู่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์โค้งไปตามขอบอ่าวเป็นแนวยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความกว้าง

                  ของแนวป่าโดยเฉลี่ยประมาณ 30-200 เมตร และมีคลองสายสั้นๆ 7 สาย ไหลผ่านป่าชายเลนออกไปสู่อ่าว


                        6.4   ธรณีสัณฐำนและวัตถุต้นก�ำเนิดดิน

                            สภาพทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก�าเนิดดินที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในพื้นที่ที่ท�าการส�ารวจ

                  สามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหมู่ ได้ดังนี้

                            6.4.1  หาดทรายชายทะเล พบเกิดเป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเล โดยมีความกว้างของหาด

                  หรือสันทรายไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของชายฝั่งทะเล หาดทรายและเนินทรายเหล่านี้เกิดขึ้นโดยการกระท�า
                  ของคลื่นและลมที่พัดเอาทรายและเปลือกหอยต่างๆ ไปกองสะสมไว้ ดินที่พบในบริเวณหาดและสันทรายเหล่านี้
                  ส่วนใหญ่มีพื้นที่ กว้างประมาณ 300 เมตร และยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร ดินเป็นดินทรายจัดและบางแห่ง

                  พบเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน

                            6.4.2  ที่ราบลุ่มน�้าทะเลขึ้นถึง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ขอบอ่าว เป็นชายฝั่งที่มีการขึ้นลง

                  เป็นประจ�าของน�้าทะเล วัตถุต้นก�าเนิดของดินเป็นพวกตะกอนทะเลกับเศษซากพืชที่เกิดจากการสลายตัวผุพัง
                  ของพืชป่าชายเลนปะปนกับเนื้อดินซึ่งโดยมากเป็นอินทรียวัตถุที่เรียกว่าพีท (Peat) แต่ขอบอ่าวทางใต้ที่ติดกับ

                  หาดทรายจะมีเป็นป่าชายเลนเป็นดินทรายสีเทาด�าปะปนกับเศษเปลือกหอย

                            6.4.3  ที่ราบลุ่มหลังสันทราย บริเวณนี้เกิดถัดเข้ามาจากที่ราบน�้าทะเลท่วมถึง ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่าง

                  หาดทรายชายทะเลและที่ราบลุ่มน�้าทะเลขึ้นถึงกับแผ่นดินที่อาจเป็นชายหาดเก่า และที่ลาดเชิงเขาที่อยู่ทางทิศ
                  ตะวันออกของพื้นที่ ลักษณะเป็นดินที่มีการระบายน�้าเลว มีน�้าแช่ขังในฤดูฝน และมีเนื้อดินเป็นทรายแต่อาจมี
                  ดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวสลับอยู่เป็นชั้นบางๆ และจะพบเศษเปลือกหอยทะเลตลอดในทุกชั้นดิน พื้นที่เหล่านี้

                  มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาของศูนย์ฯ ที่เหลือ

                  อาจใช้ท�านาหรือปล่อยให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามี ต้นธูปฤาษี หญ้าชันกาด ขลู่ ปรงทะเล และกก ขึ้นอยู่ทั่วไป
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23