Page 36 - ผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ปลูกในชุดดินนครพนม จังหวัดบึงกาฬ
P. 36

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       28








                                                        สรุปผลการทดลอง


                              จากการศึกษาผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
                       ที่ปลูกในชุดดินนครพนม ณ บ้านบุ่งคล้า ต าบลบุ่งคล้า อ าเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ สามารถสรุปผล

                       การทดลองได้ดังนี้
                              1. การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินมีผลต่อการเจริญเติบโตด้านความสูง เส้นผ่าศูนย์กลางของ
                       ล าต้น น้ าหนักแห้งต่อต้น จ านวนฝัก ความยาวของฝัก และผลผลิตของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย

                       ร้อยละ 73 41 303 64 38 และร้อยละ 213 ตามล าดับ เมื่อเทียบกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่ได้ใส่ปุ๋ย
                              2. การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อผลผลิตกิโลกรัมต่ ากว่าการ
                       ใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 4.34 ต่ ากว่าการใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน คิดเป็นร้อยละ 2.05
                       และต่ ากว่าการไม่ใส่ปุ๋ย คิดเป็นร้อยละ 49.46
                              3. การใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินสามารถเพิ่มผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรต่อไร่สูงกว่าการ

                       ใส่ปุ๋ยตามเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 17.16 สูงกว่าการใส่ปุ๋ยครึ่งค่าวิเคราะห์ดิน คิดเป็นร้อยละ 20.26
                       และสูงกว่าการไม่ใส่ปุ๋ย คิดเป็นร้อยละ 651.47

                                                         ประโยชน์ที่ได้รับ

                              1. เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ โดยการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน

                       และยังให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
                              2. สามารถน าข้อมูลไปส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาได้ เพื่อเป็น

                       รายได้เสริมให้เกษตรกร หรือเป็นพืชทางเลือกหนึ่งเพื่อให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมได้

                              3. สามารถน าองค์ความรู้นี้ไปเผยแพร่ในการฝึกอบรมเกษตรกร เครือข่ายหมอดินอาสา
                       รวมทั้งเอกสารเผยแพร่ประสัมพันธ์ เช่น แผ่นพับ โปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อให้เกษตรกรและผู้เกี่ยวข้องเห็น

                       ความส าคัญในการวิเคราะห์ดิน และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน อีกทั้งยังเป็นข้อมูลวิชาการให้
                       หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนที่เกี่ยวข้องได้


                                                           ข้อเสนอแนะ

                              ควรจัดท าสูตรการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้เกษตรกรเข้าถึงได้ง่าย และให้ครอบคลุมกับ
                       พืชทุกชนิด ควรท าการศึกษา เก็บข้อมูลกับพืชชนิดอื่นๆ และควรวิเคราะห์ดินหลังจากการใส่ปุ๋ยตาม
                       ค่าวิเคราะห์ดินด้วย
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41