Page 10 - การไถกลบต่อซังร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านกลึง อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
P. 10

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         2







                       อินทรียวัตถุ ในรูปของวัสดุเหลือใช้ในไร่นาและทรัพยากรในรูปธาตุอาหารพืชจ านวนมาก รวมถึงการ
                       สูญเสียความชื้นในดินด้วย
                              นอกจากนี้การเผาตอซังและเศษพืชยังก่อให้เกิดควันและขี้เถ้าฟุ้งกระจายไปในอากาศเป็น
                       บริเวณกว้างสร้างปัญหามลพิษทางอากาศก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ และลด

                       ทัศนวิสัยการมองเห็น อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้เกิดอุบัติเหตุด้านการคมนาคมขนส่งได้ ดังนั้นแนว
                       ทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่ดีแนวทางหนึ่ง ได้แก่ การไถกลบ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการเผา
                       วัสดุเหลือใช้การเกษตรแล้ว ยังเป็นการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินได้โดยตรง (กรมพัฒนาที่ดิน ,
                       2555)

                              การน าส่วนของพืชออกไปจากพื้นที่การเกษตรแต่ละครั้ง จึงเท่ากับเป็นการสูญเสียอินทรีย
                       วัตถุและธาตุอาหารในดินเป็นจ านวนมาก การไถกลบตอซังเป็นการปฏิบัติอีกวิธีหนึ่งเพื่อเพิ่มอินทรีย
                       วัตถุให้กับดินโดยตรง ตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการพัฒนาระบบการเกษตร
                       แบบยั่งยืน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่หรือประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั้ง

                       ประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซัง
                       ข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุด
                       เมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียง

                       เหนือ จ านวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออก มีจ านวนฟางข้าว
                       และตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ย
                       ปีละ 650 กิโลกรัม ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่ายมีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน
                       เฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม เฉลี่ยร้อยละ
                       0.51 , 0.14 และ 1.55 ตามล าดับมีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และ

                       ซัลเฟอร์ เฉลี่ยร้อยละ 0.47 , 0.25 และ 0.17 ตามล าดับ (กรมพัฒนาที่ดิน, 2560)
                              ส าหรับวัสดุเศษพืชต่างๆ ได้มีการน ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตร เช่น น ามาใช้ท าปุ๋ย
                       หมัก การใช้เป็นวัสดุคลุมดิน การท าวัสดุเพาะเห็ด การใช้เป็นอาหารสัตว์ อย่างไรก็ตาม มีเกษตรกร

                       จ านวนไม่น้อยที่เผาตอซังทิ้งหลังจากเก็บเกี่ยว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะก าจัดโรคแมลงศัตรูพืช รวมทั้ง
                       การช่วยให้การพรวนดิน ท าได้ง่าย แต่การกระท าดังกล่าวก่อให้เกิดการสูญเสียอินทรียวัตถุในรูปธาตุ
                       อาหารพืชจ านวนมากรวมถึงการสูญเสียความชื้นในดินด้วย นอกจากนี้การเผาตอซังและเศษพืชยัง
                       ก่อให้เกิดควันและขี้เถ้าฟุ้งกระจายไปในอากาศเป็นบริเวณกว้าง สร้างปัญหามลพิษทางอากาศก่อให้

                       เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ที่อาศัยอยู่โดยรอบ และลดทัศนวิสัยการมองเห็นอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ท าให้
                       เกิดอุบัติเหตุด้านการคมนาคมขนส่งได้ ดังนั้นแนวทางการจัดการวัสดุเหลือใช้ที่ดีแนวทางหนึ่งได้แก่
                       การไถกลบตอซัง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาการเผาวัสดุเหลือใช้การเกษตรแล้วยังเป็นการเพิ่ม
                       ปริมาณอินทรียวัตถุให้กับดินได้โดยตรง สามารถปรับปรุงโครงสร้างของดินเป็นการหมุนเวียนธาตุ

                       อาหารกลับคืนสู่ดินมีผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตพืชเพิ่มขึ้น
                              จากการประเมินการเผาทิ้งเศษเหลือจากตอซังและฟางข้าว ท าให้ดินต้องสูญเสียธาตุอาหาร
                       หลักที่เป็นไนโตรเจน ถึง 90 ล้านกิโลกรัม ฟอสฟอรัส 20 ล้านกิโลกรัม และโพแทสเซียม 260 ล้าน
                       กิโลกรัม ยังไม่นับการสูญเสียธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ อีกกว่า 150
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15