Page 34 - การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำแม่น้ำชี
P. 34

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน








                                                           บทที่ 3

                                                    สถานภาพทรัพยากร



                      3.1  ทรัพยากรที่ดิน

                            ทรัพยากรที่ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สําคัญในการดํารงชีพของมนุษย์ ประเทศไทยเป็น
                      ประเทศเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเป็นปัจจัยหลักในการผลิตสินค้าเกษตร จากการเพิ่มขึ้นของ

                      ประชากรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทําให้ความต้องการใช้ที่ดินมีเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองการเจริญเติบโต
                      ทางเศรษฐกิจทําให้มีการใช้ทรัพยากรที่ดินอย่างสิ้นเปลือง ขาดการอนุรักษ์ฟื้นฟู ส่งผลกระทบให้ทรัพยากร

                      ที่ดินเกิดความเสื่อมโทรม ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                            การวางแผนการใช้ที่ดินระดับลุ่มนํ้าสาขาเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ

                      สิ่งแวดล้อมอย่างมีระบบเพื่อลดปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านทรัพยากรที่ดิน
                      ได้มีการวิเคราะห์สถานภาพทรัพยากรที่ดินและการวิเคราะห์จัดทําหน่วยที่ดิน เพื่อใช้ประกอบ

                      ในการพิจารณากําหนดแผนการใช้ที่ดินของลุ่มนํ้าสาขา
                            ทรัพยากรดินในแต่ละพื้นที่ของลุ่มนํ้าสาขา มีศักยภาพในการผลิตที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะดิน

                      สภาพพื้นที่ การใช้ที่ดินและสภาพแวดล้อม ดังนั้นจึงมีการวิเคราะห์สถานภาพของทรัพยากรที่ดิน
                      ของลุ่มนํ้าสาขา เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพและข้อจํากัดของทรัพยากรดิน จะทําให้เข้าใจถึงสภาพปัญหา

                      ด้านทรัพยากรดินโดยรวมของลุ่มนํ้าสาขาชัดเจนมากขึ้น นําไปสู่การวางแผนการใช้ที่ดินอย่างถูกต้อง

                      เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่และตรงกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                      ซึ่งทรัพยากรที่ดินของแต่ละลุ่มนํ้าสาขา มีรายละเอียด ดังนี้

                            3.1.1 สถานภาพของทรัพยากรที่ดินในปัจจุบัน
                              1) ลุ่มนํ้าสาขาลํานํ้าชีตอนบน (0402) จากการศึกษาข้อมูลดินร่วมกับลักษณะสภาพพื้นที่

                      ในพื้นที่ สามารถสรุปปัญหาหรือข้อจํากัดของทรัพยากรดินได้ดังนี้ (ตารางที่ 3-1 และรูปที่ 3-1)
                               -  ดินค่อนข้างเป็นทรายที่ลุ่ม มีเนื้อที่ประมาณ 10,576 ไร่ หรือร้อยละ 0.663 ของ

                      เนื้อที่ลุ่มนํ้าสาขา ประกอบด้วยหน่วยที่ดินที่ 22 และ 22hi สภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ ความลาดชัน 0 - 2

                      เปอร์เซ็นต์ การระบายนํ้าของดินค่อนข้างเลวถึงเลว ความอุดมสมบูรณ์ของดินตํ่า ความจุในการแลกเปลี่ยน
                      ประจุบวกตํ่า ความอิ่มตัวด้วยด่างปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก

                      ถึงกรดจัด (pH 4.5 - 5.5) เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด
                      (pH 4.5 - 5.5)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39