Page 32 - การวิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำแม่น้ำชี
P. 32

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                            2-11





                            2.3.3 ลุ่มนํ้าสาขาลําพะเนียง (0411) จากการรวบรวมฐานข้อมูลของสถานีตรวจอากาศ ปี 2514-2554
                      (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2558) ณ สถานีตรวจวัดอากาศ อําเภอเมืองเลย จังหวัดเลย สามารถสรุปได้ดังนี้
                      (ตารางที่ 2-3 และรูปที่ 2-6)
                              1)  ปริมาณนํ้าฝน ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี 1,147.70  มิลลิเมตร ซึ่งน้อยกว่า

                      ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปีของประเทศไทย (1,572.50  มิลลิเมตร) มีจํานวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยรวม
                      ตลอดปี 111.40 วัน ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมในช่วงฤดูฝน 905.30 มิลลิเมตร หรือร้อยละ 78.80  ของ
                      ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี เมื่อพิจารณาปริมาณนํ้าฝนรายเดือน พบว่าเดือนกันยายนมีปริมาณ

                      นํ้าฝนสูงสุดในรอบปี 231.80 มิลลิเมตร หรือร้อยละ 20.20 ของปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยรวมตลอดปี
                              2)  อุณหภูมิ สภาวะอากาศโดยทั่วไปมีอากาศค่อนข้างร้อนเกือบตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ย
                      ตลอดปี28.3 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทย ประมาณ 27.00 องศา

                      เซลเซียส เดือนเมษายนมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 30.8 องศาเซลเซียส เดือนธันวาคมมีอุณหภูมิเฉลี่ยตํ่าสุด
                      25.7 องศาเซลเซียส
                              3)  ความชื้นสัมพัทธ์ เนื่องจากลุ่มนํ้าสาขาตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร จึงมีอากาศ

                      ร้อนอบอ้าวและชื้นเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี 70.75 เปอร์เซ็นต์ เดือนตุลาคม
                      มีความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด 79.00 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงอย่างชัดเจนในช่วงฤดูหนาว
                      และฤดูร้อนจะเป็นช่วงที่ความชื้นสัมพัทธ์ลดลงตํ่าสุดในรอบปีโดยเดือน กุมภาพันธ์ ความชื้นสัมพัทธ์
                      ตํ่าสุด 65.00 เปอร์เซ็นต์

                              4)  การวิเคราะห์ช่วงฤดูเพาะปลูกพืช ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาช่วงเวลาที่เหมาะสม
                      ในการปลูกพืช โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณนํ้าฝนรายเดือนเฉลี่ย และค่าศักยภาพการคายระเหยนํ้า
                      ของพืชรายเดือนเฉลี่ย (Evapotranspiration : ETo) ซึ่งคํานวณโดยใช้โปรแกรม Cropwat for Windows

                      Version 4.3 มากําหนดจุดกราฟ โดยพิจารณาจากระยะเวลาช่วงที่เส้นนํ้าฝนอยู่เหนือเส้น 0.5 ETo เป็นหลัก
                      เพื่อหาช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกพืชของพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาลําพะเนียง สามารถสรุปได้ดังนี้
                               -  ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการเพาะปลูก อยู่ในช่วงตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมถึง
                      ต้นเดือนพฤศจิกายน และมีความชื้นหลงเหลืออยู่ในดินพอเพียงสําหรับปลูกพืชไร่ พืชผักอายุสั้น

                      หลังจากหมดฤดูฝนประมาณหนึ่งเดือน และอาจใช้แหล่งนํ้าในไร่นาช่วยเสริมการเพาะปลูกได้บ้าง
                      แต่ทั้งนี้ควรวางแผนจัดระบบการปลูกพืชให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ และจากการวิเคราะห์
                      สภาพภูมิอากาศและความต้องการนํ้า อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ลุ่มนํ้ามีศักยภาพสามารถปลูกข้าว พืชไร่ ไม้ผล

                      และไม้ยืนต้นได้
                               -  ช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ซึ่งมีปริมาณนํ้าฝนและการกระจายน้อย
                      หรือไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช อยู่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนเมษายนของทุกปี
                      ในช่วงเวลาดังกล่าวถ้าได้รับนํ้าชลประทานช่วยก็สามารถปลูกพืชฤดูแล้งได้
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37