Page 92 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 92

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-64





                                2.4) ปัญหา ความต้องการและทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ที่ดิน

                                      (1)ปัญหาด้านการผลิตพืชและการครองชีพของครัวเรือนเกษตรกร

                                         ปัญหาด้านการผลิตพืชของครัวเรือนเกษตรกร

                                         จากการสํารวจข้อมูลของกลุ่มเศรษฐกิจที่ดิน กองนโยบายและแผน

                  การใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ปีการผลิต 2555/56 พบว่า เกษตรกรตัวอย่างที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
                  ห้วยพรมโหด (1702) มีปัญหาในการผลิตพืช ดังนี้ (ตารางที่ 2-26)

                                         ข้าว เป็นพืชที่เกษตรกรตัวอย่างประสบปัญหาทางด้านการผลิต คิดเป็น

                  ร้อยละ 57.30 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดของเกษตรกรตัวอย่างที่
                  ประสบปัญหาด้านการผลิตจะประสบปัญหาราคาผลผลิตตกตํ่า รองลงมา ได้แก่ ปัญหาฝนแล้งหรือ

                  ทิ้งช่วง ปัญหาปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ปัญหาขาดแคลนนํ้าเพื่อการเกษตร ปัญหาศัตรูพืชรบกวน ปัญหา

                  โรคระบาด ปัญหาวัชพืชรบกวน ปัญหาปริมาณผลผลิตตํ่า และปัญหาผู้รับซื้อเอาเปรียบ (กดราคา)
                  คิดเป็นร้อยละ 84.31 52.94 39.22 27.45 25.49 19.61 11.76 และ 11.76 ตามลําดับ ส่วนที่เหลือเป็น

                  ปัญหาอื่นๆ

                                         ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชที่เกษตรกรตัวอย่างประสบปัญหาทางด้านการ

                  ผลิต คิดเป็นร้อยละ 15.73 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดของเกษตรกร
                  ตัวอย่างที่ประสบปัญหาด้านการผลิตจะประสบปัญหาราคาผลผลิตตกตํ่าและปัญหาฝนแล้งหรือทิ้ง

                  ช่วง รองลงมา ได้แก่ ปัญหาปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ปัญหาวัชพืชรบกวน ปัญหาศัตรูพืชรบกวน และ

                  ปัญหาผู้รับซื้อเอาเปรียบ (กดราคา) คิดเป็นร้อยละ 78.57 14.29 7.14 และ 7.14 ตามลําดับ

                                         มันสําปะหลัง เป็นพืชที่เกษตรกรตัวอย่างประสบปัญหาทางด้านการผลิต
                  คิดเป็นร้อยละ 44.94 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยเกษตรกรตัวอย่างส่วนใหญ่ประสบปัญหา

                  ราคาผลผลิตตกตํ่า ซึ่งเป็นปัญหาที่เกษตรกรตัวอย่างประสบมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 97.50 ของเกษตรกร

                  ตัวอย่างที่ประสบปัญหาด้านการผลิต รองลงมา ได้แก่ ปัญหาฝนแล้งหรือทิ้งช่วง ปัญหาปัจจัยการผลิต
                  มีราคาสูง ปัญหาวัชพืชรบกวน ปัญหาปริมาณผลผลิตตํ่า ปัญหาผู้รับซื้อเอาเปรียบ (กดราคา) และปัญหาดิน

                  เสื่อมโทรม คิดเป็นร้อยละ 90.00 90.00 40.00 10.00 10.00 และ 7.50 ตามลําดับ ส่วนที่เหลือเป็น

                  ปัญหาอื่นๆ
                                         อ้อยโรงงาน เป็นพืชที่เกษตรกรตัวอย่างประสบปัญหาทางด้านการผลิต

                  คิดเป็นร้อยละ 10.11 ของเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมด โดยเกษตรกรตัวอย่างทั้งหมดของเกษตรกรตัวอย่าง

                  ที่ประสบปัญหาด้านการผลิตจะประสบปัญหาราคาผลผลิตตกตํ่า ปัญหาฝนแล้ง/ทิ้งช่วง และปัญหา

                  ขาดแคลนนํ้าเพื่อการเกษตร รองลงมา ได้แก่ ปัญหาปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ปัญหาปริมาณผลผลิตตํ่า
                  และปัญหาวัชพืชรบกวน คิดเป็นร้อยละ 66.67 66.67 และ 33.33 ตามลําดับ
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97