Page 90 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 90

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-62






                                2.3)  การอุตสาหกรรม

                                      ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ดําเนินการศึกษา ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิง

                  ทรัพยากรภายในท้องถิ่นเป็นหลัก โดยสังเกตได้จากอุตสาหกรรมเกษตรเป็นประเภทที่มีจํานวนโรงงาน
                  มากที่สุด เป็นการสี ฝัด หรือขัดข้าว ในปี 2555 ลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) มีโรงงานจํานวน 149 โรงงาน

                  จํานวนเงินลงทุน 4,345,089,429 บาท และมีแรงงานจํานวน 4,999 คน ประเภทอุตสาหกรรมที่มีจํานวน

                  มากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรซึ่งมีจํานวน 64 โรงงาน คิดเป็นร้อยละ 42.95 ของจํานวนโรงาน

                  ทั้งหมด มีสัดส่วนการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 9.48 ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมบริการ
                  จํานวน 22 โรงงาน อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ จํานวน 19 โรงงาน อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม

                  จํานวน 14 โรงงาน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก จํานวน 7 โรงงาน อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

                  จํานวน 4 โรงงาน อุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ จํานวน 4 โรงงาน อุตสาหกรรมก่อสร้าง จํานวน 3 โรงงาน
                  นอกจากนี้มีอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ จํานวน 12 โรงงาน (ในที่นี้ขอยกตัวอย่างชนิดของประเภท

                  อุตสาหกรรมอื่นๆ 3 อันดับแรก คือ โรงงานห้องเย็น จํานวน 4 โรงงาน อุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจาก

                  ภาคการเกษตรเป็นการหั่น ผสม รีดให้เป็นแผ่น หรือตัดแผ่นยางยางธรรมชาติ ซึ่งมิใช่การทําในสวนยาง
                  หรือป่า จํานวน 2 โรงงาน และการปรับปรุงคุณภาพนํ้ามันเก่าที่ใช้แล้ว จํานวน 2 โรงงาน เป็นต้น)

                                      การขยายตัวของโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2553-2555 มีการขยายตัวอย่าง

                  ต่อเนื่อง แต่อัตราการขยายตัวไม่มากนัก โดยในปี 2553 มีจํานวนโรงงานทั้งสิ้น 123 โรงงาน เมื่อถึงปี 2555
                  มีจํานวนโรงงานทั้งสิ้น 149 โรงงาน เพิ่มขึ้น 26 โรงงาน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.14 ของปี 2553 ประเภท

                  ของโรงงานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรม

                  แปรรูปไม้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก อุตสาหกรรมโลหะ

                  และอโลหะ อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้านแรงงานที่ประกอบอาชีพอยู่ในโรงงาน
                  อุตสาหกรรมปี 2555 เป็นแรงงานที่ประกอบอาชีพอยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มากที่สุด

                  คิดเป็นร้อยละ 26.63 ของจํานวนแรงงานทั้งหมด รองลงมา คือ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม คิด

                  เป็นร้อยละ 18.62 อุตสาหกรรมบริการ คิดเป็นร้อยละ 16.56 อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ คิดเป็นร้อยละ
                  15.18 อุตสาหกรรมเกษตร คิดเป็นร้อยละ 7.58 อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก คิดเป็นร้อยละ 1.32

                  อุตสาหกรรมก่อสร้าง คิดเป็นร้อยละ 0.70 อุตสาหกรรมโลหะและอโลหะ คิดเป็นร้อยละ 0.34 และ

                  อุตสาหกรรมอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 13.06 (ตารางที่ 2-24)

                                      ในส่วนของอุตสาหกรรมเกษตร ปี 2555 ส่วนใหญ่เป็นโรงงานสีฝัด หรือขัด
                  ข้าว จํานวน 37 โรงงาน มีสัดส่วนการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 8.71 ของจํานวนเงินลงทุนทั้งหมดใน

                  อุตสาหกรรมเกษตร มีแรงงานจํานวน 141 คน รองลงมา เป็นโรงงานการปอกหัวพืช หรือทําหัวพืชให้เป็น

                  เส้น แว่น หรือแท่ง จํานวน 21 โรงงาน มีสัดส่วนการลงทุนคิดเป็นร้อยละ 13.81 และมีแรงงาน
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95