Page 261 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 261

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           4-10





                  จัดชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า มันสําปะหลังทั้ง 3 หน่วยที่ดิน มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ

                  ในระดับสูง (S1)

                             การผลิตอ้อยโรงงาน มีการปลูกอ้อยโรงงานในหน่วยที่ดินที่ 44B และ 55 โดยเกษตรกรจะ

                  ใช้พันธุ์ขอนแก่น LK92 โดยอ้อยโรงงานที่ปลูกในหน่วยที่ดินที่ 55 ได้รับผลผลิตเฉลี่ย 13,768.32
                  กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าอ้อยโรงงานในหน่วยที่ดินที่ 44B ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 12,986.30 กิโลกรัมต่อไร่

                  เมื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด พบว่า อ้อยโรงงาน ในหน่วยที่ดินที่ 44B

                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 7,494.40 บาทต่อไร่ สูงกว่าหน่วยที่ดิน 55 ซึ่งได้รับ
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมด 6,661.50 บาทต่อไร่ ตามลําดับ เมื่อนํามาจัดชั้นความเหมาะสม

                  ทางเศรษฐกิจ พบว่า อ้อยโรงงาน ทั้ง 2 หน่วยที่ดิน มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1)

                             เขตนํ้าชลประทาน

                             การทํานา มีการปลูกข้าวในหน่วยที่ดินที่ 15 (I) และ15 hi (I) โดยลักษณะการเพาะปลูก
                  เป็นการทํานา 2 ครั้ง คือ ทํานาปีตามด้วยนาปรัง การทํานาปีเกษตรกรจะทํานาหว่าน โดยเป็นข้าวเจ้า

                  ทั้งหมด พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ คือ ขาวดอกมะลิ 105 ชัยนาท และพิษณุโลก2 ผลผลิตของข้าวเจ้านาปี

                  นาหว่านที่เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์ชัยนาทหรือพิษณุโลก 2 ในหน่วยดินที่ 15(I) ได้รับผลผลิตเฉลี่ย
                  810.78 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวเจ้านาปีนาหว่านที่เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ในหน่วยดินที่

                  15hi(I) ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 396.78 กิโลกรัมต่อไร่ สําหรับข้าวนาปรัง เกษตรกรจะปลูกข้าวเจ้า

                  โดยทํานาหว่านทั้งหมด พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ ได้แก่ ปทุมธานี1 ชัยนาท พิษณุโลก2 สําหรับผลผลิต

                  ของข้าวเจ้านาปรังนาหว่านที่เกษตรกรใช้ข้าวพันธุ์ชัยนาทหรือพิษณุโลก2 ในหน่วยดินที่ 15(I) ได้รับ
                  ผลผลิตเฉลี่ย 687.50 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าข้าวนาปรังนาหว่านที่เกษตรกรใช้ข้าว พันธุ์ปทุมธานี1

                  ในหน่วยดินที่ 15hi(I) ซึ่งได้รับผลผลิตเฉลี่ย 609.58 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อรวมการผลิตทั้ง 2 ครั้งในรอบปี

                  โดยเปรียบเทียบจากการใช้ประโยชน์ที่ดินรูปแบบการผลิตที่ทําข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง แต่ใช้
                  พันธุ์ข้าวที่แตกต่างกัน พบว่า การผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ชัยนาท/พิษณุโลก2) - ข้าวเจ้านาปรังนา

                  หว่าน (ชัยนาท/พิษณุโลก 2) ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 6,985.35 บาท

                  ต่อไร่ สูงกว่าการผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน (ขาวดอกมะลิ 105) - ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน (ปทุมธานี1)

                  ซึ่งได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรทั้งหมดรวม 2 ครั้ง 5,597.96 บาทต่อไร่ เมื่อนํามาจัดชั้น
                  ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ พบว่า ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทําการผลิตข้าวเจ้านาปีนาหว่าน -

                  ข้าวเจ้านาปรังนาหว่าน ทั้ง 2 หน่วยที่ดิน มีชั้นความเหมาะสมทางเศรษฐกิจในระดับสูง (S1)
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266